ร่องรอยข้าวและประเพณีวัฒนธรรมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ข้าวเป็นอาหารหลักของผู้คนในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่โบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐานต่างๆ ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคน กับ ข้าว ในบริเวณนี้อย่างชัดเจนเช่น
รอยแกลบข้าวในภาชนะดินเผา ที่พบในแหล่งโบราณคดีโนนนกทาอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงรูปคนกำลังเล็งธนูไปยังกวางขนาดใหญ่เบื้องหลังของกวางมีคนและกวางอีก 2 ตัว อยู่ในวงล้อมของภาพลายเส้นเป็นกลุ่มๆ คล้ายต้นข้าวแสดงให้เห็นว่าข้าวเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของผู้คนในบริเวณนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าข้าวที่ปรากฏในหลักฐานเหล่านั้น เป็นข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า
ผลการศึกษาพบว่ามนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ตามหลักการทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม บนพื้นฐานลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับร่องรอยลักษณะของเมล็ดข้าวจากหลักฐานโบราณคดีดังกล่าว
จึงสันนิษฐานได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ข้าวดังกล่าวน่าจะเป็นข้าวเหนียวและข้าวเหนียวน่าจะเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตมากที่สุดท่ามกลางสภาพภูมิประเทศดังกล่าวจึงทำให้ในบริเณนี้บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักทั้งยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวอีกด้วยคำสำคัญ ข้าว ข้าวเหนียว โบราณคดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิเวศวิทยาวัฒนธรรม