วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยและขั้นตอนต่างๆของพิธีกรรมการฝังศพ



ขั้นตอนต่างๆ ของประเพณีไทย พิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อว่าความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิตโดยสมบูรณ์แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพจากโลกที่อยู่อาศัย หรือจากสิ่งที่มีชีวิตไปสู่อีกโลกหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยพิธีกรรมเกี่ยวกับการแยกตัวหรือแยกคนตายออกจากความเป็นคนพิธีกรรมนี้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ

เช่น การปล่อยให้เน่าเปื่อยหรือการเผาและพิธีการรวมตัวของผู้ตายในโลกใหม่หรือในสภาพใหม่กับบทบาทใหม่ ที่แตกต่างไปจากโลกของคนเป็น

ในการทำพิธีนั้นเพื่อให้ถูกใจผีและด้วยความห่วงใยอาลัยญาติพี่น้องจะจัดหาเสื้อหาและข้าวปลาอาหารไปไว้ที่หลุมฝังศพเพื่อผู้ตายจะได้ใช้และกิน ไม่ขาดแคลนอดอยากเพราะคิดว่าผีก็เหมือนคน ต้องใช้สิ่งของ ต้องกินอาหาร

ถ้าผู้ตายเป็นนักรบญาติพี่น้องจะนำอาวุธที่เคยใช้ไปวางไว้ในหลุมฝังศพด้วยการนำของไปวางไว้ข้าง ๆ ศพก็เป็นคติที่นิยมทำกันในหลายประเทศรวมทั้งการฝังคน ฝังข้าทาสลงไปด้วย มนุษย์จึงใช้สีแดงทาสีร่างกายที่เป็นศพ เพราะเป็นสีของเลือด

ดังนั้นผู้คนในสมัยก่อนจึงนำดินเทศ ซึ่งมีความหมายถึง เลือด นำมาโรยบนศพ เพื่อให้ผิวพรรณของศพที่ดูขาวซีด กลับดูเปล่งปลั่งราวกับมีเลือดหล่อเลี้ยงอยู่

ความหมายของความตาย (The Meaning of death) จะปรากฏให้เห็นทั้งเป็นรูปธรรม หรืออาจเป็นนามธรรมซ่อนไว้เบื้องหลังพิธีกรรม (Ritual) ในรูปงานศพ (Funeral) และในแต่ละกลุ่มชนจะถือลัทธิพิธีเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย (Life after Death) เป็นเรื่องทางประเพณีวัฒนธรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง: ประเพณีไทยและพิธีกรรมความเชื่อในเชิงนิเวศวิทยาวัฒนธรรม