" ฤาษีจึงขอร้องให้นางโคสกกลับไป นางมีข้อแม้ว่ามนุษย์ต้องปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพบูชา นางจึงกลั้นใจตาย กลายเป็นข้าวให้มนุษย์ปลูกต่อไป ดังนั้นมนุษย์เมื่อจะทำการใดเกี่ยวกับข้าว ต้องขอขมา ทำพิธีบายศรีต่อนางเสมอ "นิทานข้าวสำนวนที่ 1
กล่าวถึงในสมัยของพระยาวิรูปักษ์ ข้าวเกิดขึ้นเองในสวน ต้นข้าวในสมัยนั้นใหญ่กว่ากำปั้นมนุษย์ 7 เท่า เมล็ดข้าวก็ใหญ่กว่ากำปั้นมนุษย์ 5 เท่าเมล็ดข้าวสุกสว่างดั่งเงิน มีกลิ่นหอม เมื่อพระยาวิรูปักษ์ลงมาเกิดในสมัยของพระเจ้ากุกุธสันโธ ก็นำข้าวลงมาด้วย เพื่อหุงให้พระเจ้ากุกุธสันโธฉัน มนุษย์จึงมีข้าวกินแต่บัดนั้น ต่อมาในสมัยพระเจ้าโกนาคม เมล็ดข้าวเล็กลงเพียง 4 เท่า กำปั้นมนุษย์ ในสมัยนั้นมีหญิงหม้ายคนหนึ่งแต่งงาน 7 หน ไม่มีลูก หลาน แกสร้างยุ้งข้าวไว้ ทำให้ข้าวมาเกิดใต้ยุ้งมากมาย แม่หม้ายจึงตีข้าวด้วยไม้ เมล็ดข้าวแตกหัก ปลิวไปตกในที่ต่าง ๆ เกิดเป็นข้าวดอย ตกในน้ำ ข้าวที่ตกในน้ำชื่อว่านางพระโพสพ นางจึงอาศัยร่วมกับปลาในหนองน้ำ ไม่กลับเมืองมนุษย์เพราะโกรธ จึงทำให้มนุษย์อดอยากข้าวไป 1,000 ปี
วันหนึ่งลูกชายเศรษฐีหลงทางเข้าไปในป่าพบปลากั้งซึ่งอยู่กับนางโพสพปลากั้งพาไปไหว้นาง แล้วให้นำนางพระโพสพไปดูแลมนุษย์และศาสนาลูกชายเศรษฐีจึงได้อ้อนวอนให้นางคืนสู่เมืองมนุษย์ เพราะพระพุทธเจ้าจะลงมาบังเกิดอีก นางขัดอ้อนวอนไม่ได้จึงกลับมาโลกอีก นางจึงกลับในสมัยพระกัสสโปและเป็นอาหารของพระพุทธเจ้าและมนุษย์อีก ครั้งนี้เมล็ดข้าวเล็กลงเท่ากำปั้นมนุษย์ ต่อมาสมัยพระเจ้าศรีศากยมุนี เมล็ดข้าวก็เล็กลงอีก แต่ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 1,000 ปี พระยาคนหนึ่งใจโลภ สั่งให้คนสร้างยุ้งข้าวและเก็บข้าวไว้ภายหลังเพื่อขาย นางพระโพสพโกรธจึงหนีไป ทำให้คนอดตายไปอีก 320 ปี
ต่อมาต่อมาคู่หนึ่งกำลังจะตายเพราะความหิวนางพระโพสพจึงสงสารหันไปจีบปีกและหางของนาง ทำให้เมล็ดข้าวแตกหัก เกิดเป็นข้าวนานาพันธุ์ หลังจากนั้น นางจึงกลั้นใจตาย ร่างกายกลายเป็นหิน ตายายจึงเอาข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ไปปลูก เกิดพิธีบูชาผีนา หลังจากตายายตาย มนุษย์จึงต้องถางป่า ใช้ควายไถนาจนปัจจุบัน และหากจะตำข้าวต้องทำพิธีขออนุญาตนางและเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็ต้องทำพิธีสู่ขวัญอีกด้วย
นิทานข้าวสำนวนที่ 2
กล่าวถึงนางโคสกเป็นเทวดาและเป็นมเหสีของท้าวสักกะเทวราช ได้มาเกิดเป็นข้าวด้วยความช่วยเหลือของฤาษีตาไฟข้าวมีชีวิตเหมือนคน มีปีกบินไปไหนมาไหนได้เหมือนนก เมล็ดข้าวโตเท่าผลแตงโม ข้าวมีจิตใจ
กล่าวถึงนางโคสกเป็นเทวดาและเป็นมเหสีของท้าวสักกะเทวราช ได้มาเกิดเป็นข้าวด้วยความช่วยเหลือของฤาษีตาไฟข้าวมีชีวิตเหมือนคน มีปีกบินไปไหนมาไหนได้เหมือนนก เมล็ดข้าวโตเท่าผลแตงโม ข้าวมีจิตใจ
รัก โกรธ ใครทำดีพลีถูก ข้าวจะบินมาอยู่ในเล้าเอง เมือ่นำข้าวมากิน ไม่ต้องตำ เพียงแต่เอามีดผ่าเอาเมล็ดข้าวสารหุงกินได้ ต่อมามีแม่หม้าย นางสร้างยุ้งข้าวไม่เสร็จแต่ข้าวบินมาอยู่ นางจึงตีข้าวข้าวจึงตกใจหนีไปอยู่ในป่า กลายเป็นเผือก กลอย มนุษย์จึงไม่มีข้าวกินพากันอดตาย สองตายายจึงไปขอความช่วยเหลือจากฤาษีตาไฟ ฤาษีจึงขอร้องให้นางโคสกกลับไป นางมีข้อแม้ว่ามนุษย์ต้องปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพบูชา นางจึงกลั้นใจตาย กลายเป็นข้าวให้มนุษย์ปลูกต่อไป "ดังนั้นมนุษย์เมื่อจะทำการใดเกี่ยวกับข้าว ต้องขอขมา ทำพิธีบายศรีต่อนางเสมอ ปฏิบัติต่อนางอย่างดี จึงเริ่มมีพิธีกรรมตั้งแต่บัดนั้น" (จะเห็นว่าพิธีกรรมประเพณีไทยมีข้าวเป็นองค์ประกอบ)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* “นิทานข้าว สำนวนอีสาน : 1” ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) (2546). ข้าวปลาหมาเก้าหาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
* “นิทานข้าว สำนวนอีสาน : 1” ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) (2546). ข้าวปลาหมาเก้าหาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------