วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยและพิธีกรรมความเชื่อในเชิงนิเวศวิทยาวัฒนธรรม


เอาฉบับเต็มมาฝาก บทความเรื่องประเพณีไทยตามรอยเมล็ดข้าว มีเนื้อหาทั้งหมดก็หลายหน้าเหมือนกัน ทีแรกก็คิดว่าจะทยอย อัพเดทเป็นตอนๆให้ผู้ที่อยากรู้ที่ไปที่มาถึงงานประเพณีที่เกี่ยวข้องกัน จะว่าไปแล้วประเพณีของคนที่เกี่ยวกับข้าวนั้นก็มีมากมาย เนื่องจากในประเพณีนั้นย่อมมีพิธีกรรมแล้ว ในพิธีกรรมนั้นมีข้าวเป็นองค์ประกอบของพิธีกรรมเสมอ อาจเป้นเพราะว่าคนไทยเรากินข้าวเป็นอาหารหลักเลยผูกพันธ์กับข้าวปลาอาหาร

อ่านบทความประเพณีไทยและพิธีกรรมเชิงนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ฉบับเต็มด้านล่างจ้า


บทคัดย่อ
ร่องรอยข้าวประเพณีไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ข้าวเป็นอาหารหลักของผู้คนในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐานต่างๆ ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคน กับ ข้าว ในบริเวณนี้อย่างชัดเจน เช่น รอยแกลบข้าวในภาชนะดินเผา ที่พบในแหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงรูปคนกำลังเล็งธนูไปยังกวางขนาดใหญ่
เบื้องหลังของกวางมีคนและกวางอีก 2 ตัว อยู่ในวงล้อมของภาพลายเส้นเป็นกลุ่มๆ คล้ายต้นข้าว แสดงให้เห็นว่าข้าวเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของผู้คนในบริเวณนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ข้าวที่ปรากฏในหลักฐานเหล่านั้น เป็นข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า
ผลการศึกษาพบว่ามนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ตามหลักการทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม บนพื้นฐานลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องรอยลักษณะของเมล็ดข้าวจากหลักฐานโบราณคดีดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ข้าวดังกล่าวน่าจะเป็นข้าวเหนียว และข้าวเหนียวน่าจะเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตมากที่สุดท่ามกลางสภาพภูมิประเทศดังกล่าว จึงทำให้ในบริเณนี้บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักทั้งยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวอีกด้วย 

คำสำคัญ: ประเพณีไทย,  ประเพณีข้าว, ข้าวเหนียว, โบราณคดี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม

ABSTRACT
Evidence of Rice in North-Eastern Thailand
Rice has been the main source of food for the people in the Greater Mekong Subregion (GMS)
since a long time ago. Some of the evidences showing the relationship between rice and the inhabitants of
the North-East of Thailand are, for example; rice husk found in a pottery at the archaeological site of Non-
Nok-Tha, Phuwiang District, Khon-kaen Province; and, rock painting at Pha Mon Noy, Ta Gum Village,
Huay Phai Subdistrict, Khong Jeam District, Ubonratchathani Province, which depicts a man aiming his
bow at a big deer, behind it were two men and two deer in the middle of a rice field. It is evident that
people in this region have been eating rice since a long time ago. Therefore, it is interesting to find out that
the evidence of Rice in North-Eastern Thailand is glutinous rice or rice.

Conclusion is Human selects different kinds of wild rice suited to their environment. This
conforms to the Cultural Ecology theory and the geographical features of the North-East of Thailand and
the evidence of Rice at the archaeological site is presume that it’s glutinous rice and enables the biggest
yield of glutinous rice.
As a result, the people of this area mainly consume glutinous rice causing rice-related culture.
Key words: Rice, Glutinous Rice, Archaeology, North-East of Thailand, Cultural Ecology


ร่องรอยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ข้าวถือได้ว่าเป็นอาหารหลักของผู้คนในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมานานแล้ว โดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคน กับ ข้าว ได้แก่ รอยแกลบข้าวในภาชนะดินเผา พบที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงรูปคนและสัตว์อยู่ในวงล้อมของภาพลายเส้นเป็นกลุ่มๆ คล้ายต้นข้าว แสดงให้เห็นว่าข้าวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนในบริเวณนี้มานานแล้ว จึงเป็นที่น่าสนใจว่าผู้คนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ เริ่มบริโภคข้าวเหนียวตั้งแต่เมื่อใด และปัจจัยใดที่ทำให้ดินแดนนี้บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก แทนที่จะเป็นข้าวเจ้า

คนอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกินข้าวเหนียวมานานตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน “ข้าวเหนียว” มีความเป็นมาเก่าแก่ยาวนาน โดยมีรากเหง้าจาก “ข้าวป่า” ราว 7,000 ปีมาแล้ว1 ข้าวป่านั้นขึ้นโดยทั่วไปในธรรมชาติ จนมนุษย์รู้ว่าสามารถนำมาเป็นอาหารได้จึงได้พัฒนามาเป็น “ข้าวปลูก” 2และสืบเนื่องต่อมา ในปรากฏการณ์เช่นนี้ จึงอาจอธิบายได้ว่า มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ และลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือสอดคล้องกับทฤษฎีทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรมที่กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชาร์ลส ไฮแอม อธิบายไว้ว่า ราว 8,000 ปี ดูใน ชาร์ลส ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์. (2542). สยามดึกดำบรรพ์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์. 73.
อาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม เรียกการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนี้ว่า ฟลัด ไรซ์ (Floodedrice) ซึ่งเป็นการปลูกโดยหว่านลงไปในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ปล่อยให้เติบโตเองจนถึงเวลาเก็บเกี่ยว เป็นการปลูกแบบง่าย ๆ
ลงบนพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะใกล้กับชุมชนที่อยู่อาศัย จาก ศรีศักร วัลลิโภดม. (2533). แอ่งอารยธรรมอีสาน แฉหลักฐานโบราณคดี
พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพ : มติชน. 105.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้าวและประเพณีไทยจากหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเก่าแก่ของข้าวนั้น พบที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่นและที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

พันธุ์ข้าวยุคแรก ๆ ที่มาจากป่านั้น มีเมล็ดลักษณะอ้วนป้อม จัดอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว จากหลักฐานที่พบ เช่น ชุมชนบ้านเชียง อุดรธานี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี มีแกลบหรือเปลือกข้าวเป็นส่วนผสม สอดคล้องกับผลวิจัยของชาวญี่ปุ่นชื่อ Tayada Watabe ที่พบว่าอิฐจากโบราณสถานในภาคต่าง ๆ ของไทยมีแกลบของข้าวชนิดต่าง ๆ ปน ได้แก่ ข้าวเมล็ดป้อม ข้าวเมล็ดใหญ่ และข้าวเมล็ดเรียว รวมทั้งผลจากการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 มีข้าวเมล็ดป้อมมาก รองลงมาได้แก่ข้าวเมล็ดใหญ่ ข้าวเมล็ดเรียวก็พบบ้าง พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-20 ก็ยังพบข้าวเมล็ดป้อมอยู่ ข้าวเมล็ดใหญ่พบน้อยลง แต่ข้าวเมล็ดเรียวกลับพบมากขึ้น จากผลงานวิจัยนี้ จึงสันนิษฐานว่า ข้าวเมล็ดป้อมนี้ น่าจะได้แก่ “ข้าวเหนียว” ที่งอกงามในที่ลุ่ม ส่วนข้าวเมล็ดใหญ่ก็น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง ส่วนข้าวเมล็ดเรียวน่าจะเป็นข้าวเจ้า ดังนั้น บทสรุปของการวิจัยของอาจารย์ชิน อยู่ดี จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว กิน “ข้าวเหนียว” (เมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่)

2.1 หลักฐานเอกสาร แบ่งเป็นหลักฐานด้านจารึกและหลักฐานด้านตำนานจารึกเก่าสุดที่ได้กล่าวถึงการทำนาในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้คือ จารึกวัดโนนสัง (พ.ศ.1432) กล่าวว่าในสมัยแห่งพระเจ้าโสมาทิตยะ ได้ส่งเสริมการทำนาในที่ลุ่ม จึงเป็หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ มีการทำนามานานแล้ว นอกจากนั้น ในจารึกอีกหลายๆหลักก็ได้กล่าวถึงการบูชาเทวรูปโดยใช้ข้าวสารด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1.1 หลักฐานด้านจารึก
ก. จารึกโนนสัง (พุทธศักราช 1432) ตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัยจังหวัดยโสธรปรากฏข้อความในจารึกว่า “พระเจ้าโสมาทิตยะนั้นใด ผู้ใคร่ต่อความรู้แห่งคติของเมืองบรรพบุรุษได้สร้างรูปศิลาตามสัญลักษณ์ของจอมมุนีทั้งปวง เป็นรูปอันเป็นที่พึ่งของโลกทั้งสามเพื่อความหลุดพ้น พระเจ้าโสมาทิตยะพระองค์นั้น ผู้เกิดจากผลที่เขาบูชายัญในพระเจ้าศรีอินทรวรมันในภูมิภาคที่กำหนดไว้ ในสมัยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งศักราช 811 พระองค์ได้ส่งเสริมกิจการในนาที่ลุ่ม...”เป็นการแสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้มีการทำนาในที่ลุ่มหรือนาลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 15

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน? ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพ : มติชน.182-191.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข. จารึกสด๊กก๊อกธม 1 (พุทธศักราช 1480)ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้างสันนิษฐานว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 มีพระบรมราชโองการให้วีเรนทรวรมันเป็นผู้สั่งให้เจ้าหน้าที่นำศิลาจารึกหลักนี้มาประดิษฐานไว้ ข้อความในจารึกกล่าวว่าเสตญอาจารย์โขลญสันดับ และเสตญอาจารย์อาจารย์โขลญพนม ซึ่งเป็นผู้ดูแลพระเทวรูปได้แจ้งให้พระบุณย์มรเตญมัทยมศิวะ วาบบรม พรหม และแม่บส ให้ร่วมกันดูแลพระเทวรูปโดยการถวายข้าวสารและน้ำมันตลอดหนึ่งปี
ค. จารึกบ้านพังพวย (พุทธศักราช 1484) พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เป็นผู้สร้างจารึกด้านที่ 1 กล่าวถึงพระเจ้าราเชนทรวรมันว่า ได้มีบัญชาให้บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในเมืองวนปุระให้ร่วมกันดูแลเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเทวสถาน โดยถวายน้ำมันและลูกสกา เป็นเวลา 1 ปี ส่วนในเรื่องของที่นาและพืชผลที่มีขึ้นในนานั้น ให้สิทธิแก่บรรดาข้าทาสและลูกทาสส่วนวัวควายไม่ควรขึ้นกับโขลญวิษัย (ผู้ดูแลสถานที่) โขลญข้าว และโขลญเปรียง(ผู้ดูแลน้ำมัน) และอย่าปล่อยให้เข้าไปในที่ดินของเทวรูปศักดิ์สิทธิ์
ประจำเทวสถาน หากชาวบ้านไม่ทำตามคำสั่งให้จับส่งเจ้าหน้าที่ ส่วนด้านที่ 2กล่าวถึงการมีบัญชาให้ร่วมกันดูแลเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง โดยถวายข้าวสาร น้ำมันผลไม้ หอก ผ้า จากจารึกจะเห็นได้ว่าได้มี “โขลญ” ซึ่งหมายถึงผู้ดูแล ดังนั้น โขลญข้าว
สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงผู้ดูแลข้าวที่ขึ้นในที่นา
ง. จารึกปราสาทเมืองแขก 1 (พุทธศักราช 1517) ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างแต่ระบุศักราช คือ 896 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 1517 กล่าวถึงพระราชโองการของพระราชาให้สถาปนาเทวรูปคือ กัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรมเหศวร มรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรสถามะและพระแม่เจ้ากัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรเทวี และหลังจากนั้นยังได้รวมพระกัมรเตงอัญแห่งลิงคปุระไว้ด้วย แล้วให้บรรดาขุนนางและข้าราชบริพาร ร่วมกันดูแลเทวรูปและเทวสถานเหล่านี้โดยกัลปนาข้าทาสและสิ่งของ เช่น ข้าวสาร น้ำมัน ฯลฯ เป็นประจำ
จ. จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 (พุทธศักราช 1664) เป็นจารึกที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ปรากฏข้อความกล่าวถึงการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2โดยภควัดบาทกัมรเตงอัญดคุรุศรีทิวากรบัญฑิตได้รับเชิญให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและถวายทรัพย์ สิ่งของ และทาสแก่เทวสถานแต่ละแห่งเป็นจำนวนมาก สิ่งของที่ได้กล่าวถึงมี ข้าวสารรวมอยู่ด้วย

4 จารึกนี้เป็นหลักฐานที่มีรายละเอียดกล่าวถึงพิธีเผาข้าวเปลือก อาจหมายถึงพิธีธานยเทาะห์ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองและมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดูใน มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). ข้าวขวัญของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.21.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.1.2 หลักฐานด้านตำนาน : ตำนานแม่โพสพในภาคอีสาน

นิทานข้าวสำนวนที่ 1 
กล่าวถึงในสมัยของพระยาวิรูปักษ์ ข้าวเกิดขึ้นเองในสวน ต้นข้าวในสมัยนั้นใหญ่กว่ากำปั้นมนุษย์ 7 เท่า เมล็ดข้าวก็ใหญ่กว่ากำปั้นมนุษย์ 5 เท่าเมล็ดข้าวสุกสว่างดั่งเงิน มีกลิ่นหอม เมื่อพระยาวิรูปักษ์ลงมาเกิดในสมัยของพระเจ้ากุกุธสันโธ ก็นำข้าวลงมาด้วย เพื่อหุงให้พระเจ้ากุกุธสันโธฉัน มนุษย์จึงมีข้าวกินแต่บัดนั้น ต่อมาในสมัยพระเจ้าโกนาคม เมล็ดข้าวเล็กลงเพียง 4 เท่า กำปั้นมนุษย์ ในสมัยนั้นมีหญิงหม้ายคนหนึ่งแต่งงาน 7 หน ไม่มีลูก หลาน แกสร้างยุ้งข้าวไว้ ทำให้ข้าวมาเกิดใต้ยุ้งมากมาย แม่หม้ายจึงตีข้าวด้วยไม้ เมล็ดข้าวแตกหัก ปลิวไปตกในที่ต่าง ๆ เกิดเป็นข้าวดอย ตกในน้ำ ข้าวที่ตกในน้ำชื่อว่านางพระโพสพ นางจึงอาศัยร่วมกับปลาในหนองน้ำ ไม่กลับเมืองมนุษย์เพราะโกรธ จึงทำให้มนุษย์อดอยากข้าวไป 1,000 ปี

วันหนึ่งลูกชายเศรษฐีหลงทางเข้าไปในป่าพบปลากั้งซึ่งอยู่กับนางโพสพปลากั้งพาไปไหว้นาง แล้วให้นำนางพระโพสพไปดูแลมนุษย์และศาสนาลูกชายเศรษฐีจึงได้อ้อนวอนให้นางคืนสู่เมืองมนุษย์ เพราะพระพุทธเจ้าจะลงมาบังเกิดอีก นางขัดอ้อนวอนไม่ได้จึงกลับมาโลกอีก นางจึงกลับในสมัยพระกัสสโปและเป็นอาหารของพระพุทธเจ้าและมนุษย์อีก ครั้งนี้เมล็ดข้าวเล็กลงเท่ากำปั้นมนุษย์ ต่อมาสมัยพระเจ้าศรีศากยมุนี เมล็ดข้าวก็เล็กลงอีก แต่ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 1,000 ปี พระยาคนหนึ่งใจโลภ สั่งให้คนสร้างยุ้งข้าวและเก็บข้าวไว้ภายหลังเพื่อขาย นางพระโพสพโกรธจึงหนีไป ทำให้คนอดตายไปอีก 320 ปี

ต่อมาต่อมาคู่หนึ่งกำลังจะตายเพราะความหิวนางพระโพสพจึงสงสารหันไปจีบปีกและหางของนาง ทำให้เมล็ดข้าวแตกหัก เกิดเป็นข้าวนานาพันธุ์ หลังจากนั้น นางจึงกลั้นใจตาย ร่างกายกลายเป็นหิน ตายายจึงเอาข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ไปปลูก เกิดพิธีบูชาผีนา หลังจากตายายตาย มนุษย์จึงต้องถางป่า ใช้ควายไถนาจนปัจจุบัน และหากจะตำข้าวต้องทำพิธีขออนุญาตนางและเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็ต้องทำพิธีสู่ขวัญอีกด้วย 

นิทานข้าวสำนวนที่ 2
กล่าวถึงนางโคสกเป็นเทวดาและเป็นมเหสีของท้าวสักกะเทวราช ได้มาเกิดเป็นข้าวด้วยความช่วยเหลือของฤาษีตาไฟข้าวมีชีวิตเหมือนคน มีปีกบินไปไหนมาไหนได้เหมือนนก เมล็ดข้าวโตเท่าผลแตงโม ข้าวมีจิตใจ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* “นิทานข้าว สำนวนอีสาน : 1” ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) (2546). ข้าวปลาหมาเก้าหาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รัก โกรธ ใครทำดีพลีถูก ข้าวจะบินมาอยู่ในเล้าเอง เมือ่นำข้าวมากิน ไม่ต้องตำ เพียงแต่เอามีดผ่าเอาเมล็ดข้าวสารหุงกินได้ ต่อมามีแม่หม้าย นางสร้างยุ้งข้าวไม่เสร็จแต่ข้าวบินมาอยู่ นางจึงตีข้าวข้าวจึงตกใจหนีไปอยู่ในป่า กลายเป็นเผือก กลอย มนุษย์จึงไม่มีข้าวกินพากันอดตาย สองตายายจึงไปขอความช่วยเหลือจากฤาษีตาไฟ ฤาษีจึงขอร้องให้นางโคสกกลับไป นางมีข้อแม้ว่ามนุษย์ต้องปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพบูชา นางจึงกลั้นใจตาย กลายเป็นข้าวให้มนุษย์ปลูกต่อไป "ดังนั้นมนุษย์เมื่อจะทำการใดเกี่ยวกับข้าว ต้องขอขมา ทำพิธีบายศรีต่อนางเสมอ ปฏิบัติต่อนางอย่างดี จึงเริ่มมีพิธีกรรมตั้งแต่บัดนั้น" (จะเห็นว่าพิธีกรรมประเพณีไทยมีข้าวเป็นองค์ประกอบ)

นิทานข้าวสำนวนที่ 3 
ตำนานกล่าวถึงที่อุทยานของพญานาคมีข้าวเกิดขึ้นเอง ต้นหนึ่งๆ มีขนาดเจ็ดกำมือ เมล็ดใหญ่เท่าผลมะพร้าว มีสีเงินยวงกลิ่นหอมหวาน มีหญิงม่ายคนหนึ่งเป็นคนยากไร้ ไม่มีมีดพร้าสำหรับผ่าเมล็ดข้าว จึงใช้ไม้คานทุบข้าว เมล็ดข้าวแตกกระจายบางส่วนไปเกิดเป็น ข้าวไร่ หรือ ข้าวดอย บางส่วนตกในน้ำเกิดเป็นข้าวนาหรือแม่โพสพ แม่โพสพน้อยใจที่หญิงม่ายทำรุนแรงจึงหนีไปอยู่เสียในถ้ำ ทำให้มนุษย์ไม่มีข้าวกินถึงพันปี วันหนึ่งลูกชายเศรษฐีหลงทางเข้าไปในป่าพบปลากั้งซึ่งอยู่กับนางโพสพ ปลากั้งพาไปไหว้นาง ลูกชายเศรษฐีจึงได้อ้อนวอนให้นางคืนสู่เมืองมนุษย์ นางขัดอ้อนวอนไม่ได้จึงกลับมาโลกอีก ลูกชายเศรษฐีสำนึกในบุญคุณของนางจึงชักชวนมนุษย์ให้ยกย่องนับถือนาง ต่อมาอีกพันปี มีชายโลภมากผู้หนึ่งสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวไว้กินแต่ผู้เดียว
แม่โพสพโกรธจึงหนีกลับไปอยู่ถ้ำในป่าอีกครั้ง ทิ้งให้มนุษย์อดอยากเป็นเวลาหลายร้อยปี เทวดาเล็งเห็นความทุกข์ยากจึงอ้อนวอนให้แม่โพสพกลับคืนมา พร้อมกันนั้นก็สอนให้มนุษย์รู้จักนับถือข้าว"รู้จักทำขวัญข้าวมีประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวเกิดขึ้น"
ตำนานแม่โพสพนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของข้าวและพัฒนาการของสังคมมนุษย์จากข้าวป่าที่เกิดขึ้นเองมาเป็นข้าวปลูก
ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงรูปลักษณะของเมล็ดข้าวว่าเดิมเป็นข้าวเมล็ดใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีลักษณะเมล็ดเล็กลงและยังได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเพาะปลูก รวมถึงประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวอีกด้วย

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าจากตำนานที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์รู้จักข้าวและวิธีการปลูกข้าวชนิดต่างๆได้อย่างไร ทำไมข้าวจึงกลายเป็นพืชที่สำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์และมนุษย์ควรปฎิบัติอย่างไรต่อข้าว หลักฐานโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงอดีตอันยาวนานของข้าวเหนียว ซึ่งสามารถย้อนไปได้ไกลถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีดังนี้

2.2.1 ภาพเขียนสี ผาหมอนน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นภาพเขียนสีแดง ภาพคนกำลังเล็งธนูไปยังกวาง(หรือวัว)ขนาดใหญ่มากตัวหนึ่ง เบื้องหลังของกวาง (หรือวัว?) ยังมีคนและกวางอีก 2 ตัว อยู่ในวงล้อมของภาพลายเส้นเป็นกลุ่ม ๆ คล้ายต้นข้าว8 คนในภาพกำลังไล่สัตว์สี่ขามีเขา สันนิษฐานว่าอาจเป็นกวางที่บุกรุกเข้าไปในนาข้าว ซึ่งรอบๆ ภาพกลุ่มนี้มีภาพมือทางด้านซ้ายและขวาจำนวนมาก ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ รูปคนไล่สัตว์ในนาข้าว ที่ผาหมอนน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 9

2.2.2 เมล็ดข้าวสารเผาไฟ ที่เนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมาพบเมล็ดข้าวสีดำ เนื่องจากถูกเผาไหม้ในแนวหลุมเสา และในหลุมฝังศพ และยังพบเครื่องมือกสิกรรม เช่น มีด เคียว ใบหอกรวมอยู่ด้วย 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* ชาร์ลส ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์. (2542). สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เมล็ดข้าวสารเผาไฟสีดำนี้ จากลักษณะเมล็ดข้าวที่พบสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นข้าวเหนียวเนื่องจากเป็นเมล็ดข้าวรูปร่างสั้นป้อม
ซึ่งนอกจากจะพบที่แหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วยังพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณภาคอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เช่นพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ที่เมืองขีดขินจังหวัดสระบุรี และการขุดค้นทางโบราณคดีของแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี สท.1 (สุโขทัย1) ผลจากการศึกษาแหล่งโบราณคดีทั้ง 3 แหล่ง พบเมล็ดข้าวที่ถูกเผาไฟในชั้นดินที่อยู่อาศัยจากเมล็ดข้าวที่พบในแหล่งโบราณคดีที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สันนิษฐานว่าน่าเป็นเมล็ดข้าวเหนียวพันธุ์จาปอนิกา เนื่องจากเมล็ดมีรูปร่างสั้นป้อม นอกจากนั้น หลักฐานสำคัญที่พบในแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง คือ การฝังศพในข้าว คือศพจะถูกฝังในหลุมที่เต็มไปด้วยข้าวที่มีสีขาว เป็นเมล็ดข้าวล้วน ๆ อัดแน่น ไม่มีดินหรือสิ่งอื่น ๆ เจือปน หลักจากที่มีการเตรียมหลุมโดยการใส่เมล็ดข้าวที่ได้จากการนำไปเผาจนเป็นสีขาวลงไปในหลุมเรียบร้อย
แล้วจึงฝังศพลงไป จากนั้นก็กลบหลุมศพด้วยข้าวสีขาวอีกที

2.2.3 รอยแกลบข้าวผสมดินในภาชนะดินเผา ที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง
ที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ได้พบหลักฐานที่แสดงว่าบรรพบุรุษรุ่นแรกสุดที่โนนนกทาได้มีการบริโภคข้าวกันแล้วโดยพบแกลบข้าวที่ถูกนำมาเป็นส่วนผสมของดินเหนียวในการปั้นภาชนะ นอกจากนั้น คนก่อนประวัติศาสตร์ที่โนนนกทารุ่นแรก (ยุคสัมฤทธิ์) ได้ล่าสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เก็บหอย จับปลาจากบริเวณลำห้วย หนองน้ำที่อยู่ใกล้ ๆ มาเป็นอาหารควบคู่ไปกับการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
2.2.4 รอยแกลบข้าวผสมดินในภาชนะดินเผา ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
10 โขมสี แสนจิตต์. (2552). เมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.477-480. 11 ชาร์ลส ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์. (2542). สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์.หลักฐานเกี่ยวกับพืชที่ปลูกในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้คือ ข้าว และ แกลบข้าว ที่ถูกนำมาเป็นส่วนผสมกับดินเหนียวในการปั้นภาชนะ กำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยสัมฤทธิ์ 13
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้าวเป็นพืชที่นำมาเป็นอาหารเมื่อประมาณ 8,000 ปีมาแล้วมีความเป็นไปได้ว่าบริเวณตอนใต้ของจีน อาจเป็นจุดกำเนิดของการเริ่มเข้าสู่การเกษตรกรรมโดยกลุ่มชนซึ่งอาจจะเป็นบรรพบรุษดั้งเดิมของมอญ เขมร ไทย การเกษตรยุคเริ่มแรก การเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่ระบบเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายของกลุ่มเกษตรกรรุ่นแรกๆ จากที่อื่นหรือเกิดขึ้นเอง ในดินแดนส่วนอื่น ๆของโลกพบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงจากกระดูกของสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างชัดเจนเช่น ควายป่า วัวป่า เมื่อนำมาเลี้ยงจะมีขนาดเล็กลง ข้าวก็เช่นเดียวกันมีวิวัฒนาการในการเปลี่ยนแปลงจากข้าวป่ามาเป็นข้าวปลูก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ ด้วย 

ผู้คนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มกินข้าวเหนียวตั้งแต่เมื่อไรจากหลักฐานทางด้านโบราณคดีดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้คนเริ่มรู้จักและกินข้าวเหนียวมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ได้กล่าวโดยสรุปว่าคนพื้นเมืองดั้งเดิมของสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ราว 3,000 ปี มาแล้วกินข้าวเหนียว (เมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่) ราวหลัง พ.ศ. 1200 ยุคทวารวดี-ศรีวิชัย ถึงเริ่มกินข้าวเจ้า (เมล็ดเรียว)16 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มกินข้าวเหนียวและปลูกข้าวเหนียวมาตั้งแต่สมัยทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 เป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 จึงได้เริ่มปลูกข้าวเจ้าด้วย
ในทางกลับกันในสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศกัมพูชาที่คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแต่เพราะเหตุใดจึงบริโภคข้าวเจ้า แทนที่จะเป็นข้าวเหนียวอาจเนื่องด้วยเหตุของการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน? ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพ : มติชน. 191.
มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). ข้าว ขวัญของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่เป็นวัฒนธรรมในการบริโภคข้าวเจ้า ทั้งยังมีหลักฐานจากจารึกหลักต่าง ๆของกัมพูชาที่กล่าวถึงการบูชาเทพเจ้าด้วยข้าวสาร แต่ก็มิได้ระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นข้าวชนิดใด นอกจากนั้น หลักฐานจากพงศาวดารราชวงศ์สุย 18 ก็ได้บันทึกไว้ว่า ในสมัยของอิศานวรมัน ( พ.ศ. 1466-1471) มีการทำกสิกรรมในอาณาจักร โดยเขาปลูกข้าวเจ้าข้าวไรย์ ลูกเดือยเม็ดเล็กและเม็ดหยาบ แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยราวพุทธศตวรรษที่ 15 ตอนปลาย ตรงกับปลายสมัยทวารวดี ที่ประเทศกัมพูชาได้ปลูกและบริโภคข้าวเจ้าแล้ว
นอกจากนั้น ยังสอดคล้องกับงานเขียนของนักวิชาการหลายท่านที่บรรยายว่าเดิมชาวนาในประเทศกัมพูชาหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น บริโภคข้าวเมล็ดป้อม (Round-grain rice) ลักษณะคล้ายกับข้าวพันธุ์จาปอนิกาในปัจจุบัน (Japonica) ต่อมาเมื่อรับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย จึงได้เปลี่ยนมาบริโภคข้าวเมล็ดยาว (Long-grain rice) พันธุ์อินดิกา (Indica) ในราวปลายพุทธศตวรรษที่15-19

ดังนั้น ข้อสันนิษฐานของ ศ.ชิน อยู่ดี ที่กล่าวว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือน่าจะเริ่มกินข้าวเหนียวและปลูกข้าวเหนียวมาตั้งแต่สมัยทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 เป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 จึงได้เริ่มปลูกข้าวเจ้าส่วนกัมพูชาก่อนพุทธศตวรรษที่ 15 อาจจะบริโภคข้าวเหนียว แต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15ประเทศกัมพูชาก็ได้เริ่มปลูกและบริโภคข้าวเจ้า จากอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียนั่นเอง

4. ข้าวกับทฤษฎีนิเวศวิทยาทางวัฒนธรรม
ทฤษฎีนิเวศวิทยาทางประเพณีวัฒนธรรมของไทย (Cultural Ecology) เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมด้วย วัฒนธรรมประเพณีของมนุษย์จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ สิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย เป็นตัวทำให้พฤติกรรมของมนุษย์หลากหลาย และสิ่งแวดล้อมที่อัตคัต จะทำให้มนุษย์คิดปรับตัวให้อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ สิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนจะส่งผลให้มนุษย์ต้องใช้ความคิดมากขึ้น ยิ่งคิดมาก พฤติกรรมย่อมมีมากขึ้นและดีขึ้นเพื่อที่จะเอาชนะธรรมชาติให้ได้

ดังนั้น มนุษย์จึงได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการของตนเพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ และจากลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ปลูกข้าวเหนียวได้ผลผลิตมากที่สุด จึงทำให้ในบริเวณนี้บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดี.อี.จี.ฮอลล์. (2549). “ชนชาติเขมรและสมัยพระนคร” ใน ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์
ภาคพิสดาร. กรุงเทพ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 101.
Ian Mabbette and David Chandler. (1995). “Farmers” in the Khmers. England: Silkworm Books. 148.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทั้งยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมประเพณีไทยอีสานที่เกี่ยวข้องกับข้าวหนียวอีกด้วยนอกจากนี้ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์น่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้บริเวณนี้ต้องเลือกพันธุ์ข้าวเหนียวในการเพาะปลูกและเพื่อบริโภค สอดคล้องกับทฤษฎีทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรมที่กล่าวว่าสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน

นอกจากนั้น มนุษย์ยังต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น ตามชุมชนที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ต้องแสวงหาพื้นที่ใหม่ที่สมบูรณ์กว่า เพื่อผลิตข้าวให้ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงสอดคล้องกับทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรมดังที่ได้กล่าวมา

ข้าวกับวิถีชีวิตมนุษย์นั้น ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากมนุษย์ต้องบริโภคอาหาร ข้าวก็เป็นอาหารประเภทหนึ่ง ทั้งยังมีส่วนก่อกำเนิดประเพณีและพิธีกรรม ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้าว มนุษย์ ประเพณีไทยและพีธีกรรม

มีรากฐานมาจากความเชื่อของศาสนาพุทธที่ปรับให้เข้ากับจารีตพื้นบ้านและยังให้ความนับถือกับผีที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนในบริเวณนี้ชาวอีสานผู้ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณีที่เรียกว่า “ฮีตบ้านคองเมือง”หรือ “ฮีตสิบสองคองสิบสี่” ที่มุ่งให้ผู้คนช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ร่วมกันทำกิจกรรมให้กับสังคมและหมู่บ้านของตน ฮีตสิบสองคองสิบสี่เป็นประเพณีที่สำคัญในรอบ 12 เดือน มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมทำนาและปากท้องของชุมชนเป็นส่วนใหญ่ยกตัวอย่าง เช่น ประเพณีไทยเดือนยี่ทำบุณคูนลาน หรือบางครั้งเรียกว่า ทำบุญกองข้าว การทำบุญคูนลาน เป็นช่วงเวลาหลังจากที่ชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วชาวนาจะนำเฉพาะข้าวเปลือกล้วน ๆ ไปสู่ลาน ทำเป็นกองเหมือนจอมปลวก ทำพิธีบวงสรวงแม่โพสพเลี้ยงพระภูมิเจ้าที่ สู่ขวัญข้าว และนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และถวายอาหารเป็นอันเสร็จพิธี 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อัครพงษ์ คำคูณ (2551). ฮีตสิบสอง : เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน 5/2551. กรุงเทพฯ :
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การที่สังคมเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนส่งผลให้ประเพณี พิธีกรรม การดำรงชีวิตไนแต่ละภูมิภาคได้เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเดิมที่ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน พฤติกรรมของมนุษย์จึงเปลี่ยนตามไปด้วยโดยมีปัจจัยทั้งจากภายในและภายนอกที่ทำให้พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเปลี่ยนดังนี้

การขยายตัวของทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ และโคราช ในปี พ.ศ. 2443 ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตของชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการปลูกข้าวเพื่อบริโภคเป็นปลูกเพื่อขาย เมื่อการขนส่งคมนาคมสะดวกขึ้น ได้ทำให้การขนส่งข้าวไปยังกรุงเทพฯสะดวกขึ้น ได้กระตุ้นให้ชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบุกเบิกหาที่ดินใหม่ๆ และจัดสรรที่ดินบางส่วนเพื่อปลูกข้าวเจ้าเพื่อส่งไปขายนอกเหนือจากการปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในครัวเรือน นอกจากนั้น การขยายตัวของทางรถไฟนี้ได้ทำให้อีสานมีความใกล้ชิดกับกรุงเทพฯ มากขึ้น พ่อค้าจีนได้เข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้ชได้แนะนำสินค้าใหม่ ๆ แก่ชาวนา นอกจากนั้น ประชาชนต้องใช้เงินเพื่อชำระภาษีสิ่งเหล่านี้คือเงื่อนไขที่จูงใจให้ชาวนาผลิตข้าวเพื่อขาย

ดังนั้น เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพทางเศรษฐกิจ ชาวนาจึงจำเป็นต้องปลูกข้าวเจ้าเพื่อขายและยังรักษาการปลูกข้าวเหนียวไว้เพื่อบริโภค เนื่องจากรายได้ที่ไม่มั่นคง แต่เมื่อยังมีข้าวไว้ในยุ้งเพื่อไว้กินชาวนายังอุ่นใจเนื่องจากข้าวมีค่าเท่ากับเงิน และสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น ๆ ในหมู่บ้านได้

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย
การนำแรงงานเครื่องจักรกลมาแทนแรงงานคนและควาย ทำให้ความสัมพันธ์ทางการผลิตหายไปจากเอามื้อเอาแรงเป็นค่าจ้าง พิธีกรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการทำนาก็เริ่มหายไปเทคโนโลยีจึงเข้ามาแทนที่บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรม การสวดมนตร์อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือการบวงสรวงบูชาเพื่อขอฝนได้หายไปจากวิถีชีวิต กลายเป็นเทคโนโลยีของการชลประทานแทนที่เป็นต้น

นอกจากนั้น ประเพณีและพิธีกรรมพื้นบ้านที่เกี่ยวกับข้าว ก็กำลังจะหายไปหรือหายไปแล้วหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อการคงอยู่ของพิธีกรรมนั้น ๆ เช่น ประเพณีบุญคูนลานในปัจจุบันประเพณีนี้ค่อย ๆ เลือนหายไป เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้สนใจประพฤติและปฏิบัติกันประกอบกับในทุกวันนี้ชาวนาไม่มีลานนวดข้าวเหมือนเก่าก่อน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จและมัดข้าวเป็นฟ่อนๆ แล้ว จะขนมารวมกันไว้ ณ ที่หนึ่งของนา โดยไม่มีลานนวดข้าว

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 มณีมัย ทองอยู่. (2546). การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาลุ่มน้ำพอง. กรุงเทพฯ :
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวมาสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงใส่ในกระสอบและในปัจจุบันมีการใช้รถไถนาและเครื่องสีข้าว จึงทำให้ประเพณีคูณลานนี้เลือนหายไปแต่ก็มีหมู่บ้านบางแห่งที่ยังรวมกันทำบุญโดยนำข้าวเปลือกมากองรวมกัน เรียก "บุญกุ้มข้าวใหญ่"(ประเพณีไทยอีสาน บุญประทายข้าวเปลือก) แทนการทำบุญคูณลาน ซึ่งนับว่าเป็นการประยุกต์ใช้ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"ให้เหมาะกับกาลสมัย

แต่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้มีการฟื้นฟูวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่มีความสัมพันธ์อันดีกับธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตพอเพียงในปัจจุบัน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิตนั่นเอง

บรรณานุกรม

โขมสี แสนจิตต์. (2552). เมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.กรุงเทพฯ.
จิตติมา ผลเสวก (บรรณาธิการ). (2551). ข้าวบนแผ่นดินกลายเป็นอื่น. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.
ชาร์ลส ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์. (2542). สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย.
กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์.
ดี.อี.จี.ฮอลล์. (2549). “ชนชาติเขมรและสมัยพระนคร” ใน ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ :สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ ภาคพิสดาร. กรุงเทพ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณีมัย ทองอยู่. (2546). การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาลุ่มน้ำพอง. กรุงเทพฯ :ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ข้าว ขวัญของแผ่นดิน. (2547). กรุงเทพฯ : มูลนิธิข้าวไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2543). เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพ : มติชน.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บรรณาธิการ) (2546). ข้าวปลาหมาเก้าหาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน? ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพ : มติชน.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2533). แอ่งอารยธรรมอีสาน แฉหลักฐานโบราณคดี พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย.
กรุงเทพ : มติชน.
อัครพงษ์ คำคูณ. (2551). ฮีตสิบสอง : เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน 5/2551.
กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เอี่ยม ทองดี. (2551). วัฒนธรรมข้าว พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการทำนา.
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
Ian Mabbette and David Chandler. (1995). The Khmers. England: Silkworm Books.