วัฒนธรรมไทย
กับดีไซน์ คัลเจอร์
ความเป็นไทย
กับดีไซน์ คัลเจอร์
เมื่อพูดถึง “ความเป็นไทย” ใครหลาย
ๆ คน อาจจินตนาการไปในขอบข่ายทางวัฒนธรรม เช่น การแสดงนาฏศิลป์ไทย ปราสาท
วิหาร วัดวาอาราม ลายกนก ผ้าไทย หรือแม้กระทั่ง ภาพในวรรณคดี
ที่มีกินรีและหนุมานร่ายรำอย่างอ่อนช้อย ทว่า ในความเป็นจริงแล้ว “ความเป็นไทย”
ในบริบททางสังคมยุคปัจจุบัน มีความมายกว้างขวางมากกว่าตัวอย่างที่กล่าวมาขั้นต้น
พักเรื่องความเป็นไทยไว้ก่อน...
เปลี่ยนไปคุยเรื่อง
"แวดวงสินค้าดีไซน์ขายไอเดีย" กันบ้าง เป็นที่รู้กันว่า
เมื่อพูดถึงสินค้าส่งออก หลายประเทศต่างนำ “ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ” ของตน มาใช้ต่างส่วนผสม เพื่อปรุงแต่งสินค้าทางวัฒนธรรมของประเทศตน
ให้มีกลิ่นอายของความเป็นชาติ
แบบที่เห็นแล้วร้องอ๋อ...เพราะรู้ที่มาว่าซื้อมาจากที่ไหน
ซึ่งตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือสินค้าจากจ้าวแห่งเทคโนโลยีอย่าง
"ญี่ปุ่น" ที่ไม่ว่าจะประดิษฐ์อะไร ขายอะไร ก็ดูจะประสบความสำเร็จ
ขายดีขายได้ไปเสียหมด โดยความน่าสนใจอยู่ที่ สินค้าดีไซน์ที่ขายดีส่วนใหญ่
ต่างผะยี่ห้อแจแปนเอาไว้ แบบไม่ต้องอาศัย โลโก้หรือสติ๊กเกอร์
เพราะเขาได้ผสานเอาความเป็นญี่ปุ่นเอาไว้ ในสินค้าทุกชิ้นทุกแบบ ...ว่าแต่
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ??
อย่างไรก็ตาม ขออนุญาตนำท่านกลับมาสู่ความเป็นไทย
ด้วยการเชิญชวนให้ผู้ชมลองจินตนาการเล่น ๆ ตามสโลแกน “คิดเล่นเห็นต่าง” ว่ามีสินค้าขายดีไซน์อะไรบ้าง
ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของไทย ขอให้ยกตัวอย่างสิ่งที่เมื่อพูดขึ้นมาแล้ว
คนทั้งโลกรู้จัก...
อืม...“ต้มยำกุ้ง”
“มวยไทย”.... ถ้าสองอย่างนี้คือคำตอบที่ท่านคิด
เราขอเฉลยว่า “ผิด” เพราะทั้งสองอย่างไม่ใช่ “สินค้าขายดีไซน์” ในความหมายที่เรากำลังพูดถึง
ว่าแต่...สินค้าขายดีไซน์ของไทย
ทำไมไม่ก้าวไกลสู่สากล??
หนึ่งในความยากของการผลักดันสินค้าดีไซน์ไทยสู่ตลาดโลก
เกิดจากปัญหาใหญ่คือ “การยึดติดกรอบความเป็นไทย” นี่เอง ซึ่งประเด็นนี้
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ในการนำมาวิพากษ์กันอย่างสนุก และเป็นที่มาของ “รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ตอน
วัฒนธรรมไทยกับดีไซน์ คัลเจอร์” กับตัวอย่างที่
“คำผกา” นำมาเป็นกรณีศึกษาให้ผู้ที่สนใจ นำไปคิดต่อ
เพราะบางที ความคิดเล่น ๆ ของคนกลุ่มเล็ก ๆ อาจนำไปสู่ปลายทางที่ยิ่งใหญ่ กับ
หนทางที่สินค้าไทย ๆ จะก้าวไกลสู่ตลาดโลกอย่างแท้จริง
เครดิต. อาจารย์ต่อ แห่งฝ้ายซอคำ