วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มนตราในยุคอินเดียโบราณ

มนตราในยุคอินเดียโบราณ


ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ มีความสามารถในการจัดการกับพลังที่มองไม่เห็น และบังคับให้กระทำสอดคล้องกับความต้องการของตนนั้น ได้แพร่หลายในทั่วประเทศและในหลายช่วงเวลา อาจกล่าวได้ว่า มนตราได้รับการเชื่อว่าเป็นพลังที่มองไม่เห็นและสถิตอยู่ในพิธีกรรม ความเชื่อนี้ได้กลายมาเป็นแนวคิดในศาสนา อาจกล่าวได้ว่า

การใช้มนตราเป็นวิทยาศาสตร์ในยุคแรก ความแตกต่างที่สำคัญคือ ในวิทยาศาสตร์ เราจะเชื่อในผลลัพธ์ซึ่งมาจากเหตุ แต่มนตราล้มเหลวในการแสดงให้เห็นผล ศาสนาไม่เห็นด้วยทั้งมนตราและวิทยาศาสตร์ เพราะทั้งสองต้องพึ่งพาสมมุตฐานซึ่งวิธีทางของธรรมชาติและมนุษยชาติจะถูกควบคุมโดยบุคคลหรือการสมมุติโดยสิ่งที่เหนือมนุษย์ ความเชื่อในมนตราหรือเรียกอีกอย่างว่าความเชื่อในทางไสยศาสตร์ ความเชื่อในไสยศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของมนุษย์

ในประเทศอินเดียมีศาสนาที่สำคัญ ๓ ศาสนาคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน และศาสนาฮินดู ในอินเดียวิถีทางการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับเวทมนตร์สามารถแสดงร่องรอยผ่านวรรณกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า ๓,๐๐๐ ปี ปรากฏในฤคเวท ของศาสนาพราหมณ์ อาถรรพเวท กัลปสูตร ธรรมสูตร ปุราณะ ตันตระ และปัญจาระตันตระ ในปุราณะแสดงเรื่องราวอย่างต่อเนื่องของความสำเร็จในมนตราศุกระจาริยาได้เตือนให้กษัตริย์อย่าได้เสียเวลากับผู้ที่ใช้มนตรากับตันตระ

เวลาในช่วงหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงการมาถึงของอำนาจแห่งมูฮัมหมัดในอินเดีย ช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคของตันตระ ในยุคนี้ได้พัฒนาตรรกวิทยาให้อยู่เหนือวัฒนธรรมแห่งจิตวิญญาณ และนำไปสู่ความหลากหลายของวิธีการสำหรับการฝึกฝนจิต และเพื่อการพัฒนาพลังแห่งจิตวิญญาณอย่างไม่หยุดหย่อน ในระหว่างยุคตันตระนี้ ได้มีวรรณกรรมที่กล่าวถึงลัทธิอันยิ่งใหญ่ในอินเดียสองลัทธิ และถูกแปลในทิเบตประกอบด้วย ๓ เล่ม อิทธิพลของมนตราในยุคตันตระได้ถูกสร้างขึ้นอย่างสำคัญยิ่งในอินเดีย อารยธรรมตะวันตกก็ไม่สามารถขจัดความเชื่อในไสยศาสตร์ได้

อย่างไรก็ตามผู้วิเศษในเวลานั้น ก็ไม่สามารถใช้อำนาจของมนตราซึ่งในอดีตมีผู้คนนับถืออย่างมาก แต่อย่างน้อยก็ได้สร้างสร้างชื่อเสียงให้แก่นิกายตันตระ และเพราะชาวอินเดียจำนวนมากเชื่อในไสยศาสตร์ พวกฉวยโอกาสในนิกายตันตระ และพวกจรจัด จึงอาศัยความใจบุญของมหาชน พวกเขาแต่งกายแปลกและพูดและแสดงอาการที่ลึกลับ

ความเชื่อในไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่เชื่อมั่นมากในจิตใจของคนอินเดีย พร้อมที่จะเชื่อในเรื่องเหลวไหลในทันที หากเกี่ยวข้องกับสาธุ วัด เทพเจ้า หรือเรื่องราวเกี่ยวกับมนตรา มากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ยากที่จะกล่าวว่า คนมีการศึกษาหรือไม่มีการศึกษาที่เชื่อในไสยศาสตร์มากกว่ากัน แต่ไม่มีใครค้านในข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้หญิงชาวบ้านเป็นชนชั้นที่เชื่อในไสยศาสตร์มากมนตรา

ในฐานะที่แสดงออกมาในวรรณกรรมของตันตระในอินเดีย มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนกับวรรณกรรมในแห่งอื่น ๆ วรรณกรรมในนิกายตันตระเทียบเท่ากับวิทยาศาสตร์ได้เช่น ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ เภสัชศาสตร์ การเล่นแร่แปรธาตุ เป็นต้น เป้ฯการผสมผสานในศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์ หลักศาสนาและมการะ ๕ การวินิจฉัยในคัมภีร์บางส่วนของฮินดู-ตันตระได้กระทำอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา

แต่คัมภีร์ของพุทธ-ตันตระถูกเพิกเฉยและละทิ้งดังนั้น สาธนมาลาในนิกายตันตระจึงน่าสนใจ และพยายามที่จะทดสอบว่าอะไรคือจุดเด่นของคัมภีร์นี้ รวมถึงงานอื่น ๆ ที่มาจากนิกายเดียวกันในเงื่อนไขของประเทศอินเดียและชาวอินเดียยุคตันตระ