วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย


ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย
การนำแรงงานเครื่องจักรกลมาแทนแรงงานคนและควาย ทำให้ความสัมพันธ์ทางการผลิตหายไปจากเอามื้อเอาแรงเป็นค่าจ้าง พิธีกรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการทำนาก็เริ่มหายไปเทคโนโลยีจึงเข้ามาแทนที่บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรม การสวดมนตร์อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือการบวงสรวงบูชาเพื่อขอฝนได้หายไปจากวิถีชีวิต กลายเป็นเทคโนโลยีของการชลประทานแทนที่เป็นต้น

นอกจากนั้น ประเพณีและพิธีกรรมพื้นบ้านที่เกี่ยวกับข้าว ก็กำลังจะหายไปหรือหายไปแล้วหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อการคงอยู่ของพิธีกรรมนั้น ๆ เช่น ประเพณีบุญคูนลานในปัจจุบันประเพณีนี้ค่อย ๆ เลือนหายไป เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้สนใจประพฤติและปฏิบัติกันประกอบกับในทุกวันนี้ชาวนาไม่มีลานนวดข้าวเหมือนเก่าก่อน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จและมัดข้าวเป็นฟ่อนๆ แล้ว จะขนมารวมกันไว้ ณ ที่หนึ่งของนา โดยไม่มีลานนวดข้าว

หลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวมาสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงใส่ในกระสอบและในปัจจุบันมีการใช้รถไถนาและเครื่องสีข้าว จึงทำให้ประเพณีคูณลานนี้เลือนหายไปแต่ก็มีหมู่บ้านบางแห่งที่ยังรวมกันทำบุญโดยนำข้าวเปลือกมากองรวมกัน เรียก "บุญกุ้มข้าวใหญ่ หรือ ประเพณีไทยอีสาน บุญประทายข้าวเปลือก แทนการทำบุญคูณลาน ซึ่งนับว่าเป็นการประยุกต์ใช้ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"ให้เหมาะกับกาลสมัย

แต่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้มีการฟื้นฟูวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่มีความสัมพันธ์อันดีกับธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตพอเพียงในปัจจุบัน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิตนั่นเอง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 ที่มา: มณีมัย ทองอยู่. (2546). การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาลุ่มน้ำพอง. กรุงเทพฯ :
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------