วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติและที่มาของ "เพลงชาติไทย"

ธงชาติไทย

เพลงชาติไทย หลายคนอาจจะไม่รู้จักที่มาและที่ไปรวมถึงการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีอยู่หลายเวอร์ชั่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เพลงชาติไทยนั้น
เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482

กำเนิดของเพลงชาติไทย
ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี


พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย
ที่มาของทำนองเพลงชาติไทยในปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยส ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง โดยได้เลือกใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอและมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง


ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงชาติฉบับแรกสุด
ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว[3] แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย

เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้

(โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย

บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย

ในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆ ดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร, จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท การประกวดเพลงชาติในครั้งนั้นได้ดำเนินการประกวดเพลงชาติ 2 แบบ คือ เพลงชาติแบบไทย (ประพันธ์ขึ้นโดยดัดแปลงจากดนตรีไทยเดิม) และเพลงชาติแบบสากล ซึ่งผลการประกวดมีดังนี้

1. เพลงชาติแบบไทย
คณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติได้ตัดสินให้ผลงานเพลง "มหานิมิตร" ซึ่งประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นผลงานชนะเลิศ เพลงมหานิมิตรนี้จางวางทั่วได้ประพันธ์ดัดแปลงมาจากเพลงหน้าพ­าทย์สำคัญของไทยที่มีชื่อว่า "ตระนิมิตร" ให้สามารถบรรเลงเป็นทางสากล ซึ่งเพลงตระนิมิตรนี้ เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์ เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับ­ถือเป็นสิริมงคล เหมาะสมที่จะใช้เป็นเพลงชาติไทยได้

รัฐบาลได้ทดลองบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงอยู่ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติจะเสนอผลการประกวดให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองนั้น คณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันและมีความเห็นว่า เพลงชาติมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความ­ศักดิ์สิทธิ์ หากมีการใช้อยู่ 2 เพลง จะทำให้คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง จึงได้ตัดสินใจไม่เสนอเพลงชาติแบบไทยที่ได้คัดเลือกไว้ให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเป็นเพลงชาติในที่สุด


2. เพลงชาติไทยแบบสากล
คณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติมีความเห็นให้ใช้ทำนองเพลงซึ่งประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์เป็นทำนองเพลงชาติแบบสากล สำหรับบทร้องนั้นได้คัดเลือกบทร้องของขุนวิจิตรมาตราซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทร้องชนะเลิศ และได้เพิ่มบทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นบทร้องที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศเข้าอีกชุดหนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้ประกาศรับรองให้เป็นบทร้องเพลงชาติฉบับราชการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477

เพลงชาติไทยในบทร้องทั้งของขุนวิจิตรมาตราและนายฉันท์ ประพันธ์ในรูปฉันทลักษณ์แบบกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ความยาว 4 บท แต่ละบทมี 4 วรรค ผลงานของแต่ละคนจึงมีความยาวของบทร้องเป็น 16 วรรค เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงทำให้บทร้องเพลงชาติทั้งหมดมีความยาวถึง 32 วรรค ซึ่งนับว่ายาวมาก หากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที) ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น

เพลงชาติสยามฉบับสังเขป พ.ศ. 2478
ในปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน) ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น

ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้น (Introduction) ของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี จนจบเพลง) ความยาวประมาณ 10 วินาที ไม่มีการขับร้องใดๆ ประกอบ


เพลงชาติไทย พ.ศ. 2482 - ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้ (สำหรับเนื้อร้องฉบับประกาศใช้จริง ดูได้ในหัวข้อ เนื้อเพลง)

 ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย



การประกวดเพลงชาติไทยครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทางการประพันธ์เพลงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น เฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า "ไทย" ถึง 12 ครั้ง


วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รีวิวหนังสือนักสืบยอดนิยม(โดยนักสืบเจ้าสำราญ)


หนังสือนักสืบยอดนิยมที่ขายดีเป็นอันดับต้นๆของหนังสือนักสืบ ไม่ว่าเป็นใครถ้าอยู่ในวงการนักสืบจะเป็นนักสืบมือใหม่มือเก่าก็ต้องอ่านอย่างแน่นอน

ยอดนักสืบกับจอมโจรลูแปง
หนังสือการ์ตูนยอดนักสืบจอมโจรลูแปง :ตอน นักสืบเผชิญหน้าเชอร์ล็อก โฮมส์ การโจรกรรมเพชรสีน้ำเงินโดยจอมโจรลูแปง ที่แท้แต่ตำรวจยังจนปัญญา ทำให้สุดยอดนักสืบอย่างเชอร์ล็อก โฮมส์ ต้องออกโรงเอง

เมื่อผู้ร้ายมาเจอกับสุดยอดนักสืบ งานนี้ไม่มีใครยอมใคร นักสืบโฮมส์ตั้งใจจะจับจอมโจรผู้นี้เข้าคุกให้ได้ แต่ลูแปงไม่ใช่หมูอย่างที่คิด แล้วเรื่องจบอย่างไร ยอดนักสืบจอมโจรลูแปงผจญภัยในท้องทะเลเป็นหนังสือนักสืบแนะนำเป็นชุดการ์ตูนวิทยาศาสตร์แสนสนุกช่วยให้เด็กฉลาด

นักสืบล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าในอียิปต์

นักสืบล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าในอียิปต์ หนังสือนักสืบล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าในอียิปต์หนังสือเล่มนี้จะพาเด็กๆ ไปรวมไขปริศนาพีระมิด ค้นหาแมลงทองคำ พร้อมการผจญภัยแสนตื่นเต้น เมื่อ "ฮีโร่" เด็กหนุ่มนักล่าขุมทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาสมบัติ และประวัติศาสตร์โลก เดินทางมาอียิปต์ เพื่อไขปริศนาพีระมิดลึกลับ ที่ซ่อนสมบัติของฟาโรห์ แต่ภารกิจนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด ฮีโร่และพรรคพวกต้องถอดรหัสอักษรไฮโรกลิฟิก เผชิญคำสาปมัมมี่ ตามหาแมลงทองคำ และต่อสู้กับกลุ่มโจรร้ายที่หวังแย่งชิงสมบัติ พวกเขาจะปฏิบัติภารกิจนี้สำเร็จหรือไม่ เมื่ออันตรายมีอยู่รอบตัว ติดตามพร้อมกันได้แล้วในเล่ม

นักสืบผจญภัยบนเส้นทางวิบาก ทาโร่นักสืบหนุ่มไม่นึกฝันว่าตนต้องออกเดินทางด้วยจักรยานเพียงคันเดียว เขาต้องออกเดินทางไปกับคุณพ่อผ่านทะเลทรายที่กว้างใหญ่ไพศาลของประเทศจีน เป็นเวลากว่า 1 เดือน การผจญภัยสุดวิบากครั้งนี้เต็มไปด้วยเรื่องตื่นเต้น ทั้งการแข่งขันกับคู่แข่งที่ขี้โกง การเรียนรู้วิธีขี่จักรยานเสือภูเขา การเดินทางในทะเลทรายที่แห้งแล้ง และการได้ท่องเที่ยวในประเทศจีนที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์

นักสืบผจญภัยบนเส้นทางของการผจญภัยและการค้นพบอันยิ่งใหญ่ของนักสืบสำรวจระดับโลก เป็นเส้นทางที่เชื่อมโลกตะวันออกและตะวันตกถึงกันตั้งแต่เมื่อราวสองพันปีก่อน เส้นทางสายนี้จึงเต็มไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมาย รวมถึงความมหัศจรรย์ทางภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อม ที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวที่รักการสืบเสาะผจญภัยมาเดินทางตามรอยนักบุกเบิกบนเส้นทางสายวัฒนธรรมนี้


วีดีโอนักสืบสายน้ำ การจัดกิจกรรมนักสืบสายน้ำ ของชมรมหัวใจสะพายเป้ โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดตราด โดยครูทศพล ถนอมพงษ์

เครดิตและแรงบันดาลใจในการหาความรู้เกี่ยวกับนักสืบหลังจากที่อ่านและค้นหาข้อมูลความรู้ต่างๆเกี่ยวกับนักสืบจากเว็บ http://www.consultvip.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำขวัญประจำจังหวัด : อัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่น



คำขวัญประจำจังหวัดในประเทศไทยทั้ง
76 จังหวัดนั้น ส่วนใหญ่มักจะนำลักษณะโดดเด่นทั้งทางภูมิประเทศ ผู้คน อาหาร วัฒนธรรม มาแต่งเป็นข้อความสั้น ๆ ที่คล้องจองกัน

คำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น คำขวัญประจำจังหวัดซึ่งเราจะแยกเป็นหมวดหมู่ตามภาคต่างๆ ติดตามอ่านกันได้ที่นี่เลยจ้า

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มนตราในยุคอินเดียโบราณ

มนตราในยุคอินเดียโบราณ


ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ มีความสามารถในการจัดการกับพลังที่มองไม่เห็น และบังคับให้กระทำสอดคล้องกับความต้องการของตนนั้น ได้แพร่หลายในทั่วประเทศและในหลายช่วงเวลา อาจกล่าวได้ว่า มนตราได้รับการเชื่อว่าเป็นพลังที่มองไม่เห็นและสถิตอยู่ในพิธีกรรม ความเชื่อนี้ได้กลายมาเป็นแนวคิดในศาสนา อาจกล่าวได้ว่า

การใช้มนตราเป็นวิทยาศาสตร์ในยุคแรก ความแตกต่างที่สำคัญคือ ในวิทยาศาสตร์ เราจะเชื่อในผลลัพธ์ซึ่งมาจากเหตุ แต่มนตราล้มเหลวในการแสดงให้เห็นผล ศาสนาไม่เห็นด้วยทั้งมนตราและวิทยาศาสตร์ เพราะทั้งสองต้องพึ่งพาสมมุตฐานซึ่งวิธีทางของธรรมชาติและมนุษยชาติจะถูกควบคุมโดยบุคคลหรือการสมมุติโดยสิ่งที่เหนือมนุษย์ ความเชื่อในมนตราหรือเรียกอีกอย่างว่าความเชื่อในทางไสยศาสตร์ ความเชื่อในไสยศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของมนุษย์

ในประเทศอินเดียมีศาสนาที่สำคัญ ๓ ศาสนาคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน และศาสนาฮินดู ในอินเดียวิถีทางการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับเวทมนตร์สามารถแสดงร่องรอยผ่านวรรณกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า ๓,๐๐๐ ปี ปรากฏในฤคเวท ของศาสนาพราหมณ์ อาถรรพเวท กัลปสูตร ธรรมสูตร ปุราณะ ตันตระ และปัญจาระตันตระ ในปุราณะแสดงเรื่องราวอย่างต่อเนื่องของความสำเร็จในมนตราศุกระจาริยาได้เตือนให้กษัตริย์อย่าได้เสียเวลากับผู้ที่ใช้มนตรากับตันตระ

เวลาในช่วงหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงการมาถึงของอำนาจแห่งมูฮัมหมัดในอินเดีย ช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคของตันตระ ในยุคนี้ได้พัฒนาตรรกวิทยาให้อยู่เหนือวัฒนธรรมแห่งจิตวิญญาณ และนำไปสู่ความหลากหลายของวิธีการสำหรับการฝึกฝนจิต และเพื่อการพัฒนาพลังแห่งจิตวิญญาณอย่างไม่หยุดหย่อน ในระหว่างยุคตันตระนี้ ได้มีวรรณกรรมที่กล่าวถึงลัทธิอันยิ่งใหญ่ในอินเดียสองลัทธิ และถูกแปลในทิเบตประกอบด้วย ๓ เล่ม อิทธิพลของมนตราในยุคตันตระได้ถูกสร้างขึ้นอย่างสำคัญยิ่งในอินเดีย อารยธรรมตะวันตกก็ไม่สามารถขจัดความเชื่อในไสยศาสตร์ได้

อย่างไรก็ตามผู้วิเศษในเวลานั้น ก็ไม่สามารถใช้อำนาจของมนตราซึ่งในอดีตมีผู้คนนับถืออย่างมาก แต่อย่างน้อยก็ได้สร้างสร้างชื่อเสียงให้แก่นิกายตันตระ และเพราะชาวอินเดียจำนวนมากเชื่อในไสยศาสตร์ พวกฉวยโอกาสในนิกายตันตระ และพวกจรจัด จึงอาศัยความใจบุญของมหาชน พวกเขาแต่งกายแปลกและพูดและแสดงอาการที่ลึกลับ

ความเชื่อในไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่เชื่อมั่นมากในจิตใจของคนอินเดีย พร้อมที่จะเชื่อในเรื่องเหลวไหลในทันที หากเกี่ยวข้องกับสาธุ วัด เทพเจ้า หรือเรื่องราวเกี่ยวกับมนตรา มากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ยากที่จะกล่าวว่า คนมีการศึกษาหรือไม่มีการศึกษาที่เชื่อในไสยศาสตร์มากกว่ากัน แต่ไม่มีใครค้านในข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้หญิงชาวบ้านเป็นชนชั้นที่เชื่อในไสยศาสตร์มากมนตรา

ในฐานะที่แสดงออกมาในวรรณกรรมของตันตระในอินเดีย มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนกับวรรณกรรมในแห่งอื่น ๆ วรรณกรรมในนิกายตันตระเทียบเท่ากับวิทยาศาสตร์ได้เช่น ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ เภสัชศาสตร์ การเล่นแร่แปรธาตุ เป็นต้น เป้ฯการผสมผสานในศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์ หลักศาสนาและมการะ ๕ การวินิจฉัยในคัมภีร์บางส่วนของฮินดู-ตันตระได้กระทำอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา

แต่คัมภีร์ของพุทธ-ตันตระถูกเพิกเฉยและละทิ้งดังนั้น สาธนมาลาในนิกายตันตระจึงน่าสนใจ และพยายามที่จะทดสอบว่าอะไรคือจุดเด่นของคัมภีร์นี้ รวมถึงงานอื่น ๆ ที่มาจากนิกายเดียวกันในเงื่อนไขของประเทศอินเดียและชาวอินเดียยุคตันตระ

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เตือนภัย! ทำบุญวันออกพรรษา ที่อีสานพิการหลายคนแล้ว

เตือนภัย! ทำบุญวันออกพรรษา ระวังประทัด
วันออกพรรษาของทุกปีแถบภาคอีสานยังคงมีการจุดปะทัดกันอยู่ ด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบได้ บ้างก็บอกว่าเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้าย บ้างก็บอกว่ารับอิทธิพลในการจุดปะทัดของจีนมา แต่เท่าที่รับรู้ด้วยตัวเองคือพอรู้เรื่องก็จุดปะทัดในวันออกพรรษาเหมือนกัน จุดโคม ซึ่งตอนเด็กๆก็ไม่คิดอะไรก็ซนตามประสาเด็กเล่นไปเรื่อย

บ้างก็เล่นพิเรนท์วันออกพรรษาทั้งทีแ้ทนที่จะทำบุญก็ทำบาปแทนอย่างว่าเด็กก็เล่นไปเรื่อย เช่นเอาปะทัดยัดเข้าปากคางคกแล้วจุด ไม่ต้องนึกภาพเลยว่าผลจะออกมาเป็นยังไง มีแต่เละกับเละเพราะประทัดทุกวันนี้ของบอกเลยว่าแรงจริง จุดทีได้ยินเสียงข้ามหมู่บ้านกันเลยทีเดียว

เล่นเสียเพลินไม่เจอกับตัวไม่สำนึกงั้นมาติดตามข่าวกันเลย ยังไม่ถึงวันออกพรรษา เยาวชนในอุดรฯนิ้วมือขาดแล้ว 2 ราย แพทย์ย้ำผู้ปกครองต้องดูแลให้คำแนะนำเด็กใกล้ชิด ไม่ให้เล่นประทัดชนิดรุนแรง หวั่นหากไม่รณรงค์ความปลอดภัย ถึงเทศกาลทำบุญวันออกพรรษาจริงๆจะพิการอีกหลายคน