วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ร่องรอยข้าวในประเพณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


ข้าวกับประเพณีไทย

ตามรอยประเพณีไทยตามรอยข้าว เราจะมาตามรอยประเพณีเก่าแก่ของคนไทยจากข้าวปลาอาหารกันว่า มีกี่อย่างและมีประเพณีอะไรบ้าง ร่องรอยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้าวถือได้ว่าเป็นอาหารหลักของผู้คนในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมานานแล้ว

โดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคน กับ ข้าว ได้แก่ รอยแกลบข้าวในภาชนะดินเผา พบที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงรูปคนและสัตว์อยู่ในวงล้อมของภาพลายเส้นเป็นกลุ่มๆ คล้ายต้นข้าว แสดงให้เห็นว่า

ข้าวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนในบริเวณนี้มานานแล้ว จึงเป็นที่น่าสนใจว่าผู้คนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ เริ่มบริโภคข้าวเหนียวตั้งแต่เมื่อใด และปัจจัยใดที่ทำให้ดินแดนนี้บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก แทนที่จะเป็นข้าวเจ้า หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเก่าแก่ของข้าวนั้น พบที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ที่มา:

1. ชาร์ลส ไฮแอม อธิบายไว้ว่า ราว 8,000 ปี ดูใน ชาร์ลส ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์. (2542). สยามดึกดำบรรพ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์. 73.

2. อาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม เรียกการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนี้ว่า ฟลัด ไรซ์ (Flooded rice) ซึ่งเป็นการปลูกโดยหว่านลงไปในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ปล่อยให้เติบโตเองจนถึงเวลาเก็บเกี่ยว เป็นการปลูกแบบง่าย ๆ ลงบนพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะใกล้กับชุมชนที่อยู่อาศัย จาก ศรีศักร วัลลิโภดม. (2533). แอ่งอารยธรรมอีสาน แฉหลักฐานโบราณคดี พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพ : มติชน. 105.



ตามรอยประเพณีไทยตามรอยข้าว จะเห็นว่ามีประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวปลาอาหารมากมายที่เกี่ยวพันกับชีวิตของคนไทยมากมาย ตามกันมาเลยจ้า