วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

คติความเชื่อ เทพเจ้า และประเพณี จากคัมภีร์ปุราณะของศาสนาฮินดู

ต่อจากความเดิมตอนที่แล้ว คติความเชื่อ เทพเจ้า และประเพณีไทย ตอน กำเนิดของ “ลักษมี : คชลักษมี” คัมภีร์ปุราณะของศาสนาฮินดู พระลักษมีหมายถึงพระแม่แห่งจักรวาลและเป็นนางคู่บารมีของพระวิษณุ และถือกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทร เพื่อนำเอาน้ำอมฤตมาให้แก่บรรดาเทพต่าง ๆ นอกจากนั้น นางยังมีชื่อเรียกอีกเช่น กมลา ปัทมา

นอกจากนั้นนางยังวิวาห์กับอวตารของพระวิษณุคือ พระนารายณ์ ในร่างของนางสีดา , ในอวตารพระกฤษณะ ในร่างของนางรุคมินี เป็นต้น

ภาพพระลักษมี เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร 

 นางมีโอรสชื่อ กามะ กับพระวิษณุ นอกจากคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึง ศรี หรือลักษมีแล้ว ในสมัยคุปตะ ก็ปรากฏแนวคิดของพระลักษมีในฐานะชายาของพระวิษณุแล้ว ในจารึกสมัยคุปตะ กล่าวว่าศรีลักษมีเป็นชายาของพระวิษณุ จารึก The Junagarh ของ Skandagupta อ้างถึงพระวิษณุผู้ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวที่พระลักษมีจะอยู่ร่วมด้วย เทพีผู้ซึ่งอยู่ร่วมกับดอกบัว จารึกหิน The Gwalior ของ Mihirakula กล่าวว่า พระวิษณุเป็นผู้เดียวที่สามารถนำเทพีศรีมาประดับไว้ที่ทรวงอกได้ คล้ายคลึงกับข้อความใน จารึกในช่วงปลายของ 5th century A.D. และช่วงต้นของ 6th century A.D.

 กำเนิดของพระลักษมี พบใน The Great Sri Sukta หรือ Hymn to Sri และใน Hindu Mythology ได้กล่าวถึงกำเนิดของพระลักษมีซึ่งเกี่ยวกับเรื่องราวในครั้งโบราณกาล กล่าวถึงทุรวสะได้มอบพวงมาลัยดอกไม้ให้แด่พระอินทร์ หัวหน้าเหล่าเทพ ซึ่งเป็นพวงมาลัยที่ไม่มีวันร่วงโรย อินทราได้มอบมาลัยดอกไม้นั้นให้แด่ช้างไอยราวัตะ ต่อมาทุรวสะเห็นช้างเหยียบพวงมาลัยดอกไม้ จึงได้สาปแช่งอินทราว่า อินทราและเหล่าทวยเทพจะสูญเสียพลัง เนื่องด้วยความหยิ่งและทิฐิของตน จากคำสาปแช่งนี้ พวกอสูรจึงสามารถกำจัดเหล่าเทพให้ออกจากสวรรค์ได้

 เหล่าเทพที่พ่ายแพ้ได้หนีไปพึ่งพระพรหม พระพรหมจึงแนะให้เหล่าเทพกวนเกษียรสมุทร เพื่อจะให้ได้ซึ่งน้ำอมฤต เหล่าเทพจึงไปพบพระวิษณุเพื่อขอความช่วยเหลือ พระวิษณุจึงอวตารเป็นเต่าเพื่อรองรับเขามันดาละ เพื่อใช้ในการกวนเกษียรสมุทร ในขณะที่ราชาแห่งงู วาสุกิ กลายร่างเป็นเชือก เหล่าเทพและอสูร ต่างช่วยกันในการกวนเกษียรสมุทร 

ท่ามกลางการกวนเกษียรสมุทร ได้บังเกิดบุคคลและสิ่งของสำคัญขึ้นมาดังนี้คือ พระลักษมี และพระนางได้เลือกพระวิษณุผู้ซึ่งดีเลิศประเสริฐมาเป็นคู่บารมี ในฐานะที่พระวิษณุมีพลังในการควบคุมมายาได้ ด้วยเหตุผลนี้ พระลักษมีจึงถูกขนานนามว่า ธิดาแห่งท้องทะเล หลังจากนั้นจึงบังเกิด พระจันทร์ขึ้น และถูกเรียกว่าเป็นพระเชษฐาของพระลักษมีด้วย






อ้างอิงแหล่งที่มา


  • David R. Kinsley. Hindu Goddesses : visions of the divini feminine in the Hindu religious tradition. (London : University of California Press), 1988, p.20.
  • Jouveau-Dubreuil. Iconography of Southern India. (Bharat-Bharati : Delhi), 1978, p.100.
  • C.Sivaramamurti. Sri Lakshmi in Indian Art and Thought. (New Delhi : Kanak Publication), 1982 .
  • Bhagwant Sahai. Iconography of Minor Hindu and Buddhist deities.  (Delhi : Vishal Printers), 1975, p.173.
  • www.wikipedia.com  เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๘