วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คติความเชื่อ เทพเจ้า และประเพณีไทย ตอน กำเนิดของ “ลักษมี : คชลักษมี”

Lakshmi : Gaja Lakshmi ลักษมี : คชลักษมี लक्ष्मी : गज लक्ष्मी


ความหมาย ตำนาน กำเนิดของ “ลักษมี : คชลักษมี”

คำว่า “ลักษมี” (Lakshmi) ตามความหมายของภาษาสันสกฤต หมายถึง Lakshyam-ความสำเร็จ ,  Laksham-จุดมุ่งหมาย , Laksha- จำนวนแสน


ลักษมี หรือ คชลักษมี เป็นเทพีที่เป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย ความสดใส ความฉลาดและความมีโชคลาภ  ซึ่งหมายถึงความมีโชค ความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ นางเป็นชายาของพระวิษณุ พาหนะคือ นกเค้าแมว  การปรากฏของนางปรากฏทั้งในศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู

เนื่องด้วยนางเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย และความบริสุทธิ์ พระนางจึงเป็นเทพีแห่งความรอบรู้ด้วย (Brahma-vidya) และชื่อหนึ่งของนางคือ วิทยา (Vidya) ซึ่งมีความหมายคือความรอบรู้ พระนางเป็นเทพีที่ผู้บูชาปรารถนาความสุขในครอบครัว เพื่อน การแต่งงาน เด็ก ๆ อาหารและความสมบูรณ์มั่งคั่ง ความสวยงามและสุขภาพที่ดี ดังนั้นพระนางจึงเป็นที่นิยมในการบูชาในศาสนาฮินดู ในฐานะที่เป็นเทพีแห่งความร่ำรวย พระนางจึงถูกขนานนามอีกว่า Dharidranashini [destroyer of poverty] และ Dharidradvamshini [one who opposes poverty]

ภูเทวี    ศรี    สรัสวตี


“ลักษมี”  หรือ “ศรี” เป็นเทพีแห่งความร่ำรวยและความเจริญ มักจะปรากฏทั้งองค์เดี่ยวและเคียงคู่กับพระวิษณุ หากพระวิษณุปรากฏพร้อมด้วย  “ภู” หรือ “สรัสวตี”  พระนางจะปรากฏร่วมในนาม ”ศรี”   แต่หากปรากฏกายพร้อมกับวิษณุ พระนางจะถูกขนานนามว่า “ลักษมี”


เมื่อพระนางปรากฏกายองค์เดียว พระนางอาจถูกขนานนามทั้ง “ศรี” หรือ “ลักษมี” โดยจะปรากฏในรูปของ “ศรี” บ่อยครั้งกว่า รูปประติมากรรมเกี่ยวของพระลักษมีจะพบได้น้อยกว่า พระลักษมีเป็นชายาองค์แรกของพระวิษณุ และเป็นการยากที่จะเข้าใจได้ว่า เหตุใดภาพประติมากรรมของ “ศรี” หรือ “ลักษมี” ควรจะมีลักษณะที่แตกต่าง เมื่อปรากฏกายเพียงองค์เดียว

นอกจาก  “ศรี”หรือ “ลักษมี” แล้ว บางครั้ง อทิติ (Aditi) ยังปรากฏแทนศรีในเวลาต่อมา ในฐานะเทพีองค์เดียวและในฐานะชายาของพระวิษณุ อทิติไม่ใช่พระลักษมีเสียทีเดียว เป็นมากกว่าภูเทวี และในบางครั้งปรากฏในฐานะปรฐวี ซึ่งเป็นลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากระหว่าง “ศรี” และ “อทิติ”

แนวคิดเกี่ยวกับ “ศรี” หรือ “ลักษมี” นี้ สำคัญมากในวรรณกรรมยุคพระเวท เอกภาพของแนวคิด “ศรี” หรือ “ลักษมี” นี้ เป็นลักษณะที่มีความสำคัญในยุคนี้   ทั้งสองได้รับการกล่าวถึงด้วยกันเสมอในหลาย ๆ แห่ง และจนกลายเป็นลักษณะที่สามารถชี้ชัดได้ใน ศรีสุกตะ (Sri Sukta) ในฤคเวท  ซึ่งน่าจะเก่ากว่าคัมภีร์ภาษาบาลีของศาสนาพุทธ

ใน ศรีสุกตะ กล่าวว่า ศรีถูกปลุกโดยเสียงกัมปนาทของช้าง  สรงโดยช้างของเหล่ากษัตริย์ด้วยหม้อทองคำ พระนางเปลือยกายในสระบัว เป็นที่รักของพระวิษณุ มหาลักษมี

ดังนั้น ศรี ในยุคสมัยนี้จึงมีคุณสมบัติที่สำคัญและมีเครื่องหมายคือดอกบัวและช้างที่สรงน้ำ ในโคลงนี้นางจึงได้รับการแสดงถึงลักษณะที่สำคัญอย่างชัดเจน

ตำนานที่กล่าวถึง “ศรี”  ในฐานะที่เป็นเทพีในยุคแรกสุด กล่าวว่า นางเป็นทั้งตัวบุคคลและความดีงามที่ปรากฏ โดยเฉพาะความจงรักภักดี นางกำเนิดมาจากผลแห่งความการบำเพ็ญของนางประชาปดี เทพเจ้าอื่น ๆ ปรารถนาคุณลักษณะของนาง จึงชิงเอาคุณลักษณะเหล่านี้ไปจากนาง

คุณลักษณะหรือวัตถุทั้ง ๑๐ ประกอบด้วย อาหาร , พลังอำนาจอย่างใหญ่หลวง , การมีอำนาจเหนือจักรวาล , ศีลธรรมขั้นสูง , พลังอำนาจ , ความศักดิ์สิทธิ์ , อาณาจักร , โชคลาภ , มีเมตตา และความงาม ดังนั้น ในคัมภีร์พระเวท เทพีศรี จึงถือกำเนิดจากผลของการทำดี โดยเฉพาะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพลังแห่งการจงรักภักดีและความร่ำรวย

ในคัมภีร์พระเวท “ศรี” ได้ถูกอ้างว่าจะนำมาซึ่งความมีชื่อเสียงและเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย นางได้รับการกล่าวขานถึงความมีเมตตาและให้ความอุดมสมบูรณ์ นางให้ทองคำ วัวควาย ม้า และอาหาร แด่ผู้ที่บูชานาง พระนางได้กำจัดน้องสาวคือ อลักษมี ตามคำวิงวอน 

อลักษมี คือ ความโชคร้าย ผู้ซึ่งปรากฏในรูปแบบของความโชคไม่ดี ความยากจน ความหิว และความกระหาย พลังอำนาจอันใหญ่หลวง ถูกแสดงโดยการประทับนั่งตรงกลางราชรถ ครอบครองม้าที่ดีที่สุด และถูกแซ่ซ้องโดยเสียงของช้าง

ลักษณะภายนอกที่ปรากฏ นางมีบารมีและเครื่องประดับที่มากมาย รัศมีนางดั่งสีทอง เปล่งปลั่งดั่งพระจันทร์ นางสวมสร้อยคอทีทำด้วยทองคำและเงิน นางถูกกล่าวถึงอยู่เสมอว่าโชติช่วงดั่งพระอาทิตย์ และรุ่งโรจน์ดั่งเปลวไฟ


พระลักษมี มีชื่อที่หลากหลายซึ่งเกี่ยวข้องกับดอกบัว เช่น ปัทมาปรียา – ผู้ซึ่งชอบดอกบัว, ปัทมามาลาธระ – ผู้ซึ่งชอบสวมมาลัยดอกบัว, ปัทมามุขิม หรือ ปัทมาสุนทรี - ผู้ซึ่งมีความสวยราวกับดอกบัว เป็นต้น


ติดตามอ่านต่อ คติความเชื่อ เทพเจ้า และประเพณี จากคัมภีร์ปุราณะของศาสนาฮินดู