วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยและลักษณะของประติมากรรมของพระลักษมี เทพีแห่งความมั่งคั่ง

โดยทั่วไปมักจะอธิบายลักษณะของ “พระลักษมี” ไว้คือ เป็นสตรีที่มีความงาม มี ๔ กร ประทับบนดอกบัว แต่งกายและตกแต่งด้วยเครื่องประดับมีค่า พระนางมีใบหน้าที่อ่อนโยน เยาว์วัยและมีลักษณะของความเป็นแม่ ภาพพระลักษมี ๒ กร ประทับยืนบนดอกบัว ลักษณะเด่นของภาพประติมากรรมของพระลักษมีคือ ปรากฏร่วมกับดอกบัวเสมอ

ความหมายของดอกบัวนั้นสัมพันธ์กับคำว่า ศรี-ลักษมี หมายถึง ความบริสุทธิ์และพละกำลัง รากของดอกบัวแม้จะจมอยู่ในโคลนตม แต่สามารถขึ้นมาบานเหนือน้ำได้ โดยโคลนไม่สามารถให้มีรอยมลทินได้ ดอกบัวแสดงถึงจิตใจที่ดีงามและพลังอำนาจ ยิ่งไปกว่านั้น ปัทมาสนะเป็นลักษณะทั่วไปของภาพประติมานวิทยาในศาสนาฮินดู การปรากฏตัวของพระลักษมีบนดอกบัว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ พลังแห่งการเจริญเติบโต

พระนางไม่ได้เป็นเพียงแค่อำนาจแห่งความจงรักภักดีเท่านั้น แต่เป็นอำนาจแห่งจิตวิญญาณ และเชื่อมโยงระหว่างความจงรักภักดีและอำนาจของธรรมะ ในภาพที่พระนางปรากฏออกมา การปรากฏร่วมกับดอกบัวจึงแสดงถึงการเจริญเติบโตของชีวิต ลักษณะที่เป็นที่น่าสังเกตของพระลักษมีคือ การปรากฏร่วมกับดอกบัว ซึ่งหมายถึง “น้ำ”นั้น ปรากฏออกมาใน ๓ แนวทางดังนี้

 ๑) Padma-hasta คือพระนางถือดอกบัวในกรขวา 

๒) พระนางประทับนั่งบนดอกบัวบานขนาดใหญ่ในฐานะที่เป็นบัลลังค์ (Pitha)

๓) Padma-vasini หรือ Padmalaya คือพระนางแวดล้อมด้วยก้านดอกบัวและใบที่เจริญเติบโต และพระนางถือดอกบัวในพระหัตถ์ด้วย


ภาพพระลักษมี  ๒ กร ประทับยืนบนดอกบัว



นอกจากนั้น พระลักษมียังเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง และความอุดมสมบูรณ์โดยรูปแบบของเทพีแห่งความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ นิยม ๒ รูปแบบ คือ

๑) รูปสตรีกับดอกบัว ทำเป็นสตรียืนหรือนั่ง และมีดอกบัวเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยให้ดอกบัวเป็นองค์ประกอบสำคัญ และมีความสัมพันธ์กับสตรีในภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถือดอกบัว นั่งหรือยืนบนดอกบัว หรือแวดล้อมด้วยกอบัว ซึ่งประกอบด้วยดอกและใบ ในรูปที่มีองค์ประกอบแบบนี้มีชื่อว่า ศรี-ลักษมี , ศรี แปลว่า ผู้หญิง และ ลักษมี แปลว่า โชคลาภ ความเจริญ ความงาม แปลรวมว่า เทพีแห่งโชคลาภและความเจริญ

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Category:Hindu_goddesses วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ Bhagwant Sahai. Iconography of Minor Hindu and Buddhist deities. (Delhi : Vishal Printers), 1975, p.164. ผาสุข อินทราวุธ. ตราดินเผารูปคช-ลักษมีและกุเวร จากเมืองนครปฐมโบราณ. นิตยสารเมืองโบราณ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ สิงหาคม-พฤศจิกายน ๒๕๒๖. (กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์), ๒๕๒๖, หน้า ๙๔-๙๕.