วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำบุญวันออกพรรษา ประเพณีไทยตักบาตรเทโว ฟังเทศน์มหาชาติ

วันออกพรรษาไปทำบุญที่วัดนะโยม
ไกล้ถึงวันออกพรรษาแล้ว หลายๆคนคงคิดถึงบ้านเพราะเป็นวันหยุดที่หลายๆคนตั้งตารอคอย หลังจากที่ทำงานมาทั้งปีหรือว่าบางท่านทำๆหยุดๆหรือไม่หยุดเลยก็มี แต่เท่าที่จำได้ว่าเมื่อก่อนสนุกกับงานทำบุญวันออกพรรษามาก เพราะได้พบพ่อแม่พี่น้อง เพื่อนสนิทมิตรสหายที่หยุดและร่วมทำบุญสร้างกิจกรรมร่วมกันทำบุญร่วมกัน ที่วัดก็มีงานมีพระเทศน์กันครึกครึ้นว่าแล้วก็อดคิดถึงบ้านไม่ได้

แต่ทว่าวันออกพรรษาปีนี้คงไม่เหมือนเดิมเพราะไม่ได้กลับบ้านอย่างแน่นอนคิดถึงพ่อแม่พี่น้อง คิดถึงเพื่อนสนิทมิตรสหายที่นานๆได้เจอกัน นี่ก็เป็นอีกปีแล้วที่ข้าพเจ้าไม่ได้กลับบ้าน

พล่ามอยู่นานจนลืมเอาสาระมาฝากคุณผู้อ่านทั้งหลาย แก่นแท้ของเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในไฟล์ดาวน์โหลดลองโหลดไปอ่านกันโลด ส่วนน้ำจิ้มที่เอามาให้อ่านบางส่วนในบล้อกนี้ก็แค่เนื้อหาบางส่วน



วันออกพรรษา คือ วันสุดท้ายในการจำพรรษาของ พระภิกษุสงฆ์หรือวันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาของพระภิกษุ ตามวินัยบัญญัติ โดยพระวินัยบัญญัติให้พระภิกษุต้องอยู่ประจำที่หรืออยู่ในวัดแห่งเดียวตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ในช่วงฤดูฝน ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (หรือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ในกรณีเข้าพรรษาหลัง) ของทุกปี

ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวัน มหาวิหารกรุงสาวัตถีนั้น มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษา อยู่ตามอารามรอบ ๆ นคร พระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิด การขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษา พระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงทรงตำหนิว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

“อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ
ปะวาเรตุง ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา...”
แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากัน
ในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”

ความสำคัญของวันออกพรรษา
๑. พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
๒. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับ
ระหว่างพรรษาไปเผยแพร่แก่ประชาชน
๓. ในวันออกพรรษา พระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือ และความสามัคคีกันระหว่าง
สมาชิกของสงฆ์
๔. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเอง
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป


ที่มาของประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษาจากกรมศาสนา ท่านใดสนใจดาวน์โหลดบทความฉบับได้ที่นี่ คลิ้กที่นี่!