วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันเข้าพรรษา ที่มาของการที่ภิกษุต้องจำพรรษา

พุทธศาสนิกชนทำบุญวันเข้าพรรษา
หลายตำราและหลายบทความวันเข้าพรรษาที่กล่าวถึงที่มาของการที่ภิกษุต้องจำพรรษาเหตุผลก็คงต้องเป็นตรรกะง่ายๆที่มองเห็นภาพคือภิกษุเที่ยวจาริกไปโน่นนั่นนี่ซึ่งเป็นฤดูฝนมันลำบากมากการที่จะเคลื่นที่ไปไหนนั้นต้องเดินอย่างเดียวเพราะมีบัญญัติห้ามพระวิ่งเพราะดูไม่สำรวม

มื่อสมัยพุทธกาลพระไม่มีเจ็ทส่วนตัวไม่มีรถเบนซ์เหมือนเช่นทุกวันนี้ การเดินทางก็ยากลำบากฝนก็ตกเปียกปอน การเดินทางก็ลัดทุ่งลัดท่าเหยียบข้าวกล้าพืชผลชาวนาบ้าง เหยียบสัตว์เล็กสัตว์น้อยล้มตายบ้าง เลยเป็นที่มาของกฎการจำพรรษา

วันเข้าพรรษา  ตรงกับแรม  ๑ ค่ำ เดือน ๘ "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำแม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยีบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ  จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอดเวลา  ๓ เดือนในฤดูฝน




ความหมายและความสำคัญ
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรม คำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ ๓ เดือนในฤดูฝน

คือเริ่มตั้งแต่วันแรม  ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน  ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม  ๑ ค่ำเดือนแปดหลัง และจะออกพรรษาในวันขึ้น  ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เว้น แต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน  ๗ คืนเรียกว่า สัตตาหะ
หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา 

หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับ ความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิงพักเพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้วพระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึง

หน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พักเรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำและมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมาชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

บทความที่มาและความสำคัญของวันเข้าพรรษาชิ้นนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะประดับความรู้ของใครหลายๆคนที่ได้เข้ามาอ่าน ขอบคุณเนื้อหาบทความของบุญธรรม  ศรสวัสดิ์ และคณะพระพุทธศาสนาสมบูรณ์แบบ