วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มนุษย์ไทย เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว กิน “ข้าวเหนียว”




ตามรอยข้าวไทยยุคที่ประเพณีไทยเฟื่องฟูมากเกี่ยวกับการตอบแทนคุณข้าวคุณน้ำ เมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว เราจะมารีวิวเกี่ยวกับข้าวกันก่อน เราๆเองจะได้เข้าใจอย่าถ่องแท้ยิ่งๆขึ้นก่อนจะรีวิวถึงประเพณีไทยอิสานมีที่มาที่ไปที่สนุกสนานพร้อมเรื่องเล่ามากมาย ขอเกริ่นก่อนเด้อ

พันธุ์ข้าวยุคแรก ๆ ที่มาจากป่านั้น มีเมล็ดลักษณะอ้วนป้อม จัดอยู่ในตระกูลข้าวเหนียวจากหลักฐานที่พบ เช่น ชุมชนบ้านเชียงอุดรธานี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี มีแกลบหรือเปลือกข้าวเป็นส่วนผสม สอดคล้องกับผลวิจัยของชาวญี่ปุ่นชื่อ Tayada Watabe ที่พบว่าอิฐจากโบราณสถานในภาคต่าง ๆ ของไทยมีแกลบของข้าวชนิดต่าง ๆ ปน ได้แก่ ข้าวเมล็ดป้อม ข้าวเมล็ดใหญ่ และข้าวเมล็ดเรียว

รวมทั้งผลจากการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 มีข้าวเมล็ดป้อมมาก รองลงมาได้แก่ข้าวเมล็ดใหญ่ ข้าวเมล็ดเรียวก็พบบ้าง พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-20 ก็ยังพบข้าวเมล็ดป้อมอยู่

ข้าวเมล็ดใหญ่พบน้อยลง แต่ข้าวเมล็ดเรียวกลับพบมากขึ้น จากผลงานวิจัยนี้ จึงสันนิษฐานว่า ข้าวเมล็ดป้อมนี้ น่าจะได้แก่ “ข้าวเหนียว” ที่งอกงามในที่ลุ่ม ส่วนข้าวเมล็ดใหญ่ก็น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง ส่วนข้าวเมล็ดเรียวน่าจะเป็นข้าวเจ้า ดังนั้น บทสรุปของการวิจัยของอาจารย์ชิน อยู่ดี จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว กิน “ข้าวเหนียว” (เมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่)