วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยกับตราประจำจังหวัด

ประเพณีไทยกับตราประจำจังหวัด

บทความประเพณีไทยกับตราประจำจังหวัดและแหล่งที่มาของคำขวัญ ประเพณี จะเห็นว่าเรื่องเด่นๆและทุกๆอย่างที่ลือชื่อจะอยู่ในคำขวัญประจำจังหวัดนั้นๆ 
ความสำคัญและที่มา

                ตราประจำจังหวัด หรือที่ปรากฏคำเรียกในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ฉบับที่ 214 ว่าเครื่องหมายราชการของจังหวัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดที่มีที่มาอันยาวนาน
ลักษณะของตราประจำจังหวัดของไทย มีพัฒนาการมาจากตราประจำจังหวัดของไทย มีพัฒนาการมาจากตราประจำตำแหน่งของเจ้าเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และตราประจำธงประจำกองลูกเสือ 14 มณฑล    ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7    ต่อมาในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นรัฐบาลได้กำหนดให้แต่ละจังหวัด มีตราประจำจังหวัดของตนเองใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบตราตามแนวคิดที่แต่ละจังหวัดกำหนดไว้ ปัจจุบันเมื่อมีการตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ก็จะมีการออกแบบตราประจำจังหวัดด้วยเสมอ แต่ตราของบางจังหวัดที่ใช้อยู่นั้น บางตราก็ไม่ใช่ตราที่กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ บางจังหวัดก็เปลี่ยนไปใช้ตราประจำจังหวัดเป็นแบบอื่น บางจังหวัดลักษณะของตราก็เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะที่กรมศิลปากรออกแบบไว้  แต่ยังคงลักษณะหลักๆ ของตราเดิมไว้อยู่บ้าง[1]
แนวคิดและการออกแบบตราประจำจังหวัดนั้น จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะเด่นของจังหวัดนั้น ๆ เช่น แนวคิดจากชื่อจังหวัด ได้แก่ ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นรูปเพชร กับ ภูเขาและไร่ยาสูบ เป็นต้น แนวคิดจากโบราณวัตถุสถานสำคัญของจังหวัด ได้แก่ ตราประจำจังหวัดลำปาง เป็นรูปไก่ ยืนอยู่ในประตูมณฑปวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีแนวคิดอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ เช่น แนวคิดจากประวัติศาสตร์หรือตำนานเมือง หรือ แนวคิดจากธรรมชาติที่เป็นที่รู้จัก เป็นต้น


[1] กรมศิลปากร, ตราประจำจังหวัด, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542), 40.