วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้าวและประเพณีไทยจากหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเก่าแก่ของข้าวนั้น พบที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่นและที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


ข้าวและประเพณีไทยจากหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเก่าแก่ของข้าวนั้น พบที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่นและที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


พันธุ์ข้าวยุคแรก ๆ ที่มาจากป่านั้น มีเมล็ดลักษณะอ้วนป้อม จัดอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว จากหลักฐานที่พบ เช่น ชุมชนบ้านเชียง อุดรธานี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี มีแกลบหรือเปลือกข้าวเป็นส่วนผสม สอดคล้องกับผลวิจัยของชาวญี่ปุ่นชื่อ Tayada Watabe ที่พบว่าอิฐจากโบราณสถานในภาคต่าง ๆ ของไทยมีแกลบของข้าวชนิดต่าง ๆ ปน ได้แก่ ข้าวเมล็ดป้อม ข้าวเมล็ดใหญ่ และข้าวเมล็ดเรียว รวมทั้งผลจากการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 มีข้าวเมล็ดป้อมมาก รองลงมาได้แก่ข้าวเมล็ดใหญ่ ข้าวเมล็ดเรียวก็พบบ้าง พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-20 ก็ยังพบข้าวเมล็ดป้อมอยู่ ข้าวเมล็ดใหญ่พบน้อยลง แต่ข้าวเมล็ดเรียวกลับพบมากขึ้น จากผลงานวิจัยนี้ จึงสันนิษฐานว่า ข้าวเมล็ดป้อมนี้ น่าจะได้แก่ “ข้าวเหนียว” ที่งอกงามในที่ลุ่ม ส่วนข้าวเมล็ดใหญ่ก็น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง ส่วนข้าวเมล็ดเรียวน่าจะเป็นข้าวเจ้า ดังนั้น บทสรุปของการวิจัยของอาจารย์ชิน อยู่ดี จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว กิน “ข้าวเหนียว” (เมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่)

2.1 หลักฐานเอกสาร แบ่งเป็นหลักฐานด้านจารึกและหลักฐานด้านตำนานจารึกเก่าสุดที่ได้กล่าวถึงการทำนาในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้คือ จารึกวัดโนนสัง (พ.ศ.1432) กล่าวว่าในสมัยแห่งพระเจ้าโสมาทิตยะ ได้ส่งเสริมการทำนาในที่ลุ่ม จึงเป็หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ มีการทำนามานานแล้ว นอกจากนั้น ในจารึกอีกหลายๆหลักก็ได้กล่าวถึงการบูชาเทวรูปโดยใช้ข้าวสารด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1.1 หลักฐานด้านจารึก
ก. จารึกโนนสัง (พุทธศักราช 1432) ตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัยจังหวัดยโสธรปรากฏข้อความในจารึกว่า “พระเจ้าโสมาทิตยะนั้นใด ผู้ใคร่ต่อความรู้แห่งคติของเมืองบรรพบุรุษได้สร้างรูปศิลาตามสัญลักษณ์ของจอมมุนีทั้งปวง เป็นรูปอันเป็นที่พึ่งของโลกทั้งสามเพื่อความหลุดพ้น พระเจ้าโสมาทิตยะพระองค์นั้น ผู้เกิดจากผลที่เขาบูชายัญในพระเจ้าศรีอินทรวรมันในภูมิภาคที่กำหนดไว้ ในสมัยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งศักราช 811 พระองค์ได้ส่งเสริมกิจการในนาที่ลุ่ม...”เป็นการแสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้มีการทำนาในที่ลุ่มหรือนาลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 15

ข. จารึกสด๊กก๊อกธม 1 (พุทธศักราช 1480)ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้างสันนิษฐานว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 มีพระบรมราชโองการให้วีเรนทรวรมันเป็นผู้สั่งให้เจ้าหน้าที่นำศิลาจารึกหลักนี้มาประดิษฐานไว้ ข้อความในจารึกกล่าวว่าเสตญอาจารย์โขลญสันดับ และเสตญอาจารย์อาจารย์โขลญพนม ซึ่งเป็นผู้ดูแลพระเทวรูปได้แจ้งให้พระบุณย์มรเตญมัทยมศิวะ วาบบรม พรหม และแม่บส ให้ร่วมกันดูแลพระเทวรูปโดยการถวายข้าวสารและน้ำมันตลอดหนึ่งปี
ค. จารึกบ้านพังพวย (พุทธศักราช 1484) พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เป็นผู้สร้างจารึกด้านที่ 1 กล่าวถึงพระเจ้าราเชนทรวรมันว่า ได้มีบัญชาให้บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในเมืองวนปุระให้ร่วมกันดูแลเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเทวสถาน โดยถวายน้ำมันและลูกสกา เป็นเวลา 1 ปี ส่วนในเรื่องของที่นาและพืชผลที่มีขึ้นในนานั้น ให้สิทธิแก่บรรดาข้าทาสและลูกทาสส่วนวัวควายไม่ควรขึ้นกับโขลญวิษัย (ผู้ดูแลสถานที่) โขลญข้าว และโขลญเปรียง(ผู้ดูแลน้ำมัน) และอย่าปล่อยให้เข้าไปในที่ดินของเทวรูปศักดิ์สิทธิ์
ประจำเทวสถาน หากชาวบ้านไม่ทำตามคำสั่งให้จับส่งเจ้าหน้าที่ ส่วนด้านที่ 2กล่าวถึงการมีบัญชาให้ร่วมกันดูแลเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง โดยถวายข้าวสาร น้ำมันผลไม้ หอก ผ้า จากจารึกจะเห็นได้ว่าได้มี “โขลญ” ซึ่งหมายถึงผู้ดูแล ดังนั้น โขลญข้าว
สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงผู้ดูแลข้าวที่ขึ้นในที่นา
ง. จารึกปราสาทเมืองแขก 1 (พุทธศักราช 1517) ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างแต่ระบุศักราช คือ 896 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 1517 กล่าวถึงพระราชโองการของพระราชาให้สถาปนาเทวรูปคือ กัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรมเหศวร มรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรสถามะและพระแม่เจ้ากัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรเทวี และหลังจากนั้นยังได้รวมพระกัมรเตงอัญแห่งลิงคปุระไว้ด้วย แล้วให้บรรดาขุนนางและข้าราชบริพาร ร่วมกันดูแลเทวรูปและเทวสถานเหล่านี้โดยกัลปนาข้าทาสและสิ่งของ เช่น ข้าวสาร น้ำมัน ฯลฯ เป็นประจำ
จ. จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 (พุทธศักราช 1664) เป็นจารึกที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ปรากฏข้อความกล่าวถึงการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2โดยภควัดบาทกัมรเตงอัญดคุรุศรีทิวากรบัญฑิตได้รับเชิญให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและถวายทรัพย์ สิ่งของ และทาสแก่เทวสถานแต่ละแห่งเป็นจำนวนมาก สิ่งของที่ได้กล่าวถึงมี ข้าวสารรวมอยู่ด้วย

4 จารึกนี้เป็นหลักฐานที่มีรายละเอียดกล่าวถึงพิธีเผาข้าวเปลือก อาจหมายถึงพิธีธานยเทาะห์ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองและมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน? ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพ : มติชน.182-191.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูและดาวน์โหลดบทความข้าวและประเพณีไทย