วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยอีสานเอาบุญเดือนสิบสอง



ประเพณีไทยอีสานเอาบุญเดือนสิบสอง ภาคอีสาน เป็นภาคหนึ่งของประเทศไทยที่มีความมั่งคั่งในด้านประเพณีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับพิธีกรรม เป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ของภาษา ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งจะมีงาน บุญเยอะมาก ใน 1 ปี มีประเพณีพิธีกรรมทุกเดือน เพราะคนอิสานยึด ฮีต 12 ครอง 14 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งหลายท่านอาจไม่เข้าใจศัพท์ภาษาอีสานเราจะมาอธิบายกันง่ายๆเลย

"ฮีต12" แปลเป็นไทยกลางคือจารีต 12 ข้อ (คนอิสานออกเสียงเป็นฮีตสั้นๆได้ใจความ ) จารีตประเพณี  คือ ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและ เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งแต่เดิมนั้นกฎหมายก็มีที่มาหรือได้รับแนวทางจากจารีตประเพณีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่จารีตประเพณีที่จะนำมาอุดช่องว่างของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 นั้น ต้องมีสาระสำคัญคือ


  • ต้องเป็นจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติของคนในสังคม
  • จารีตประเพณีนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหรือศีลธรรมอันดีทั้งหลายของคนในสังคม
  • จารีตประเพณีนั้นต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งความหมายของจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น หมายถึงจารีตประเพณีของประเทศไทย เรานั่นเอง จารีตประเพณีนั้นต้องมีเหตุผลและความเป็นธรรม


"คอง 14" แปลเป็นไทยกลางก็คือครรลองครองธรรม 14 ข้อ(คนอิสานออกเสียงเป็นคองสั้นๆได้ใจความ ) * ครรลอง คือ แนวทางที่เป็นความจริงเป็นหลัก  มีรูปแบบของความจริงนั้น แต่มี หลายลักษณะ  เช่น รูปแบบชีวิต การเกิดแก่ เจ็บตาย ล้วนเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือ มีกรรม ย่อม มีผลแห่งกรรม  อยู่ที่บุคคลจะใช้รูปแบบใด รูปแบบ ดี หรือ เลว อยู่ที่การตัดสินใจของคน  ทุกสิ่งย่อมมีครรลองของตน มีเหตุย่อมมีผล

ส่วนจะมีอะไรบ้างในรายละเอียดยิบย่อย เอาไว้โพสต์หน้าจะใส่รายละเอียดทั้งหมด เพราะจากการที่ได้ติดตามและหาข้อมูลเรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนกันเยอะ บ้างพิมพ์ผิดบ้าง บ้างก็ตี ความหมายไปอีกแนวทางหนึ่งซึ่งไม่สอดคล้องกันนัก

มีผญ๋าว่าไว้
เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่คือแท้แต่หลัง ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ซ่วงกันบูชา ฝูงนาโค นาคเนาว์ในพื้น ชื่อว่าอุชุพะนาโค เนาว์ ในพื้นแผ่น สิบห้าสกุลบอกไว้บูชาให้ส่งสะการ จงทำให้ทุกบ้านบูชาท่านนาโค แล้วลงโมทนาดอม ชื่นชมกันเล่น กลางเว็นกลางคืนให้ระงมกันขับเสพ จึงสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น ทุกข์ทั้งหลาย หลีกเว้นหนีห่างบ่มีพาน ของสามานย์ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้ ไผผู้ทำตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆ ทุกสิ่งบ่ไฮ้ ทั้งข้าวหมู่ของ กรรมบ่ได้ถึกต้องลำบากในตัว โลดบ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้ มีแต่สุขีล้นครองคน สนุกยิ่ง อดในหลิงป่องนี้เด้อเจ้าแก่ชรา(ที่มา:isangate.com)

เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐินซึ่งเริ่มตั้งแต่วัน แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำบุญทอดกฐินกัน ตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง สำหรับประชาชนที่อาศัย อยู่ตามริมฝั่งน้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี จะมีการจัดส่วงเฮือ (แข่งเรือ) เพื่อระลึกถึงอุสุพญานาค ดังคำกลอนข้างต้น
บางแห่งทำบุญดอกฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาวถวายพระเณร จะมีพลุตะไล จุดด้วย บางแห่งทำบุญโกนจุกลูกสาวซึ่งนิยมทำกันมากในสมัยก่อน