วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยบุญบั้งไฟเกี่ยวอะไรกับกี่เพ้า

ประเพณีไทยบุญบั้งไฟกับกี่เพ้ามันเกี่ยวกันยังไงทำไมผู้เขียนโยงมาใส่กันได้ นั่นเป็นเพราะผู้เขียนคิดถึงบ้านคิดถึงอีสาน คิดถึงบุญบั้งไฟปีกะนู้น คิดฮอดต้มอึ่ง..แล้วพอมาได้ยินเพลงประกอบละคร กี่เพ้าที่ว่า ..

"อึ่งเพ้า..นี้มีความลับใช่ไหม อึ่งเพ้า...เหมือนใจดวงนี้ใช่ไหม สิ่งที่หัวใจเธอปิดเอาไว้ ไม่รู้ดีหรือร้าย"

นึกฮาๆเลยมาเขียนบทความซะหน่อยติดตามอ่านกันได้เลยจ้า

อึ่งเพ้า vs กี่เพ้า

คนไทยอีสาน พื้นเพก็อาศัยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นแดนดินที่แห้งแล้งและก็ทำนาเป็นอาชีพหลักซึ่งไม่สมดุลกันเลยกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งก็เป็นแบบนี้มาช้านานเลยได้เกิดเป็นประเพณีของทุกๆปีเช่นประเพณีบุญบั้งไฟเป็นต้น ซึ่งมีประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวกับน้ำของคนอีสานอีมามากมายซึ่งมีรายละเอียดอีกเยอะ

"ขึ้นกะเอาลงตมบั้งไฟบ่ขึ้นกะเอาลงตม" ประเพณีที่สร้างความสนุกสนานในการจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าเพื่อขอฝนกับองค์พญาแถน "บั้งไฟตอกดากให้ฝนตกลงมา" และก็ประจบสบเหมาะกับหน้าฝนพอดีกับประเพณีในการบรวงสรวงบูชาองค์พญาแถน ฝนเดือน5ฟ้าเดือนหก ถ้าไม่ตกหนักในเดือนที่กล่าวมาแสดงว่าเกิดอาเพศอย่างแน่นอน

หลังจากฝนเดือน 5 ตกลงมาก็จะมีอาหารเกิดขึ้นมาอีกมากมายพืชผักผลไม้ ยอดไม้ยอดหญ้าอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านก็จับอึ่งจับกบเขียดกันสนุกสนาน เป็นสัญญาณเข้าสู่ฤดูหว่านไถ ปลูกกล้าดำนา จะว่าไปแล้วผู้เขียนก็เป็นคนอีสานที่หลงไหลในประเพณีวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตของคนอีสาน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำใจรวมไปถึงประเพณีวัฒนธรรม

บทความนี้ผู้เขียนมีกะจิตกะใจที่จะเขียนหลังจากดูละครทีวีช่องไหนก็จำไม่ได้ เป้นเรื่องราวของกี่เพ้าที่แอน ทองประสมแสดง ก็เป็นครั้งแรกที่ดู ก็เลยฉุกคิดถึงอึ่งเพ้า หน้าฝนไข่เต็มท้องนี่ล่ะ เอามาต้มส้มใส่ใบมะขามนี่ล่ะ แซ่บขนาด เข้ากันยังกะปี่กับขลุ่ย ว่ามาแล้วก็น้ำลายไหล เดือน12นี้ หากินอ่อมปูอ่อมหอยตามฤดูดีกว่าเนาะคืิอสิมันคักแหน่...................