วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย “พระพิฆเนศวร์: ความเชื่อและพิธีกรรม”

ประเพณีไทย “พระพิฆเนศวร์: ความเชื่อและพิธีกรรม”


บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “พระพิฆเนศวร์: ความเชื่อประเพณีและพิธีกรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศวร์ และเพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรมในเทศกาลคเณศจตุรถีของ
พระพิฆเนศวร์ ผลการศึกษาพบว่า

1. คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศวร์ในไทยนั้นได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ –ฮินดูของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็ นต้นกา เนิดของความเชื่อและพิธีกรรมคเณศจตุรถีในประเทศไทย พระพิฆเนศวร์มีฐานะเป็นเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คติความเชื่อที่แพร่หลาย

เฉพาะประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลจากพระราชนิยมในรัชกาลที่ 6 คือ ยกย่องพระพิฆเนศวร์เป็นเทพแห่งศิลปวิทยา ซึ่งเป็นการริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ประเทศไทยก็ยังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อดั้งเดิมของประเทศอินเดียอยู่ คือการนบั ถือพระพิฆเนศวร์ในฐานะที่พระองค์เป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรค

2. รูปแบบพิธีกรรมในเทศกาลคเณศจตุรถีของพระพิฆเนศวร์ในไทย (วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้ากรุงเทพมหานคร) ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียโดยปรับให้มีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยมีการนา เอารูปแบบพิธีกรรมของเทศกาลคเณศจตุรถีนี้มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธแต่มีความเชื่อเดียวกับชาวอินเดียในเรื่องการนับถือเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การประกอบพิธีกรรมไทยไม่ได้ปฏิบัติเหมือนกับอินเดียทุกประการ

เนื่องจากสภาพของสังคมไทยนั้นต่างจากประเทศอินเดีย กล่าวคือ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมเป็นชาวอินเดียเหนือนับถือนิกายสารตะ ต่างจากพราหมณ์ในประเทศอินเดียแคว้นมหาราษฎร์เมืองมุมไบ ที่เป็นต้นการเนิดของเทศกาลคเณศจตุรถีซึ่งนับถือนิกายคณปติยะ และผู้ร่วมพิธีกรรมนั้น

โดยมากเป็นชาวไทยนับถือศาสนาพุทธซึ่งอาจไม่รู้เรื่องของพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมากนัก
จึงทา ให้ทางวัดปรับเปลี่ยนรูปแบบบางประการของพิธีกรรมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย เช่นปรับเปลี่ยนจำนวนวัน ปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ในประเทศไทย เป็นต้น เพื่อที่จะให้ทั้งคนไทยและคนอินเดียที่มีความศรัทธาเดียวกันเข้าร่วมพิธีกรรมนี้ได้ โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเท่านั้น

เครดิต: นางสาวกีรติกา สินสุวรรณ
ภาพ: อ.เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์