วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ลักษณะทางประติมาณวิทยาของ “ลักษมี : คชลักษมี”

คัมภีร์ต่าง ๆ ที่กล่าวถึงลักษณะของ ลักษมี : คชลักษมี
           
ในวรรณกรรมยุคมหากาพย์นั้น มหาภารตะกล่าวว่าพระลักษมีถือกำเนิดมาจากการกวนเกษียรสมุทร ในมหากาพย์ยุคหลังบางฉบับให้พระลักษมีเป็นชายาของท้าวกุเวรในวรรณกรรมของศาสนาฮินดูในยุคกลาง ศรี หรือลักษมี เป็นเทพีแห่งโชคลาภผู้ถือดอกบัว และเป็นชายาของหมู่กษัตริย์ การสรรเสริญความงามของชายาของหมู่กษัตริย์ มักนำไปเปรียบเทียบกับความงามของพระลักษมี วรรณกรรมในยุคปุราณะได้ยกย่องพระลักษมี ให้เป็นชายาของพระวิษณุ
วรรณกรรมในศาสนาพุทธและศาสนาเชนกล่าวถึงพระลักษมีด้วยเช่นกันในมิลินทปัญหาและธรรมบทอรรถกถา กล่าวถึงเทพีลักษมี ว่าเป็นเทพีผู้ประทานโชคลาภแก่ราชอาณาจักร ซึ่งกษัตริย์อินเดียในสมัยคุปตะจะนับถือพระลักษมีในฐานะเทพีผู้ประทานโชคลาภแก่อาณาจักร ส่วนในศาสนาเชนกล่าวถึงลักษมีว่า เป็น ๑ ใน ๑๔ มหามงคล อันเป็นนิมิตที่เกี่ยวข้องกับการประสูติของมหาวีระ

ใน Abhilasitarthachintamani อธิบายว่าพระนางมีกายสีขาว ประทับนั่งบนดอกบัว ถือ Sri phala (wood apple) ทับทิม ?  ในกรขวา ส่วนกรซ้ายถือดอกบัว ขนาบข้างด้วยช้าง ๒ เชือก
ใน Nayasamgraha อธิบายว่านางน่าจะถือดอกบัวในพระหัตถ์ สวมพวงมาลัยดอกบัว และมีช้างสรงน้ำให้พระนาง




ที่มา:ผาสุข อินทราวุธ. ตราดินเผารูปคช-ลักษมีและกุเวร จากเมืองนครปฐมโบราณ. นิตยสารเมืองโบราณ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ สิงหาคม-พฤศจิกายน ๒๕๒๖. (กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์), ๒๕๒๖, หน้า ๙๔.


ใน Matsya Purana กล่าวถึงคชลักษมี ได้รับการสรงน้ำโดยช้าง ๒ เชือก พระนางน่าจะถือ Sri phala (wood apple) ทับทิม ? และดอกบัวในพระหัตถ์ พระนางมีกายสีทองและประทับนั่งบนดอกบัว
            ใน Devi-Mahatmya of the Markandeya Purana กล่าวถึงพัฒนาการของนางที่มี ๑๘ กร และมีอาวุธที่หลากหลาย[1]
            ใน Brahmanical Icons in Northern India [2]กล่าวว่า จากคัมภีร์ วิษณุธรรโมตรา พระลักษมี มักจะปรากฏร่วมกับหริ (วิษณุ) สวมเครื่องแต่งกายสวยงาม  กายสีดำ[3] มักจะมี ๒ กร ถือดอกบัว หากปรากฏกายเดี่ยว นางจะมี ๔ กร ประทับบนปัทมาสนะ นางจะถือก้านดอกบัวในกรขวา ส่วนกรซ้ายจะถือ หม้ออมฤต ที่เหลือถือ สังข์ และ ผลทับทิม ด้านหลังพระนางจะปรากฏช้าง ๒ เชือกถือหม้อสรงน้ำ หรือ พระนางจะประทับยืนบนดอกบัว ๒ กรถือ สังข์และดอกบัว และมีวิทยาธรเหาะเหนือศีรษะนาง  ใกล้ ๆ กับนาง ราชศรี , สวารคะ ลักษมี พราหมี ลักษมี และ ชายา ลักษมี ก็ปรากฏร่วมด้วย
            ใน อัมศุมัฑเภทาคมะ กล่าวว่านางมีกายสีเหลืองทอง นางจะสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองประดับทับทิมและหินมีค่า นางสวม Nakra กุณฑล ลักษณะของนางคล้ายกับสาวพรมจรรย์ อ่อนวัย สวยงาม คิ้วสวย ดวงตาราวกับกลีบบัว คออิ่ม สะโพกผาย นางมักจะสวมเสื้อและศีรษะจะประดับด้วยเครื่องประดับนานาชนิด  มือขวานางจะถือดอกบัว และมือซ้ายถือผลทับทิม นางมักจะแต่งกายอย่างประณีต สวมสายคาดเอวที่แสดงถึงฝีมือทางศิลปะ
            ใน Elements of Hindu Iconography. Vol.I Part II[4]ได้กล่าวถึงพระลักษมี ในฐานะที่เป็นชายาของพระวิษณุ และกำเนิดมาจากการกวนเกษียรสมุทร มีพระนามหลายชื่อ เช่น ศรี ปัทมะ หรือ กมลา พระนางจะประทับนั่งบนดอกบัว สองกรถือดอกบัว สวมพวงมาลัยทำด้วยดอกบัว ขนาบข้างด้วยช้างที่สรงน้ำลงบนศีรษะ โดยมีนางฟ้า ๒ ตนยืนถือหม้อ



                        [1] Bhagwant Sahai. Iconography of Minor Hindu and Buddhist deities.  (Delhi : Vishal Printers), 1975, p.164.
            [2] Sheo Bahadur Singh. Brahmanical Icons in Northern India. (New Delhi : Sagar Publications), 1977, p.171 -172.
                        [3] T. A. Gopinatha Rao, M. A. Elements of Hindu Iconography. Vol. I Part II (India : Motilal Banarsidass Indological Publishers), 1968 , p.373.
                        [4] T. A. Gopinatha Rao, M. A. Elements of Hindu Iconography. Vol. I Part II (India : Motilal Banarsidass Indological Publishers), 1968 , p.373-375.

Sri Devi : Ellora



ใน ศิลปรัตนะ กล่าวว่านางมีกายสีขาว และกล่าวยิ่งไปกว่านั้นว่า นางถือดอกบัวในมือซ้ายและมือขวาถือผลทับทิม นางสวมสร้อยมุกและขนาบข้างโดยสองสาวพรหมจรรย์ผู้ซึ่งสบัดพัดขนจามรีใกล้ ๆ นางมักถูกรดน้ำจากหม้อสองใบ

 นางมักจะมี ๒ กร หากปรากฏกายพร้อมกับพระวิษณุ แต่หากนางปรากฏเป็นรูปเคารพเดี่ยว มักจะมี ๔ กร และประทับบนดอกบัวแปดกลีบบนหลังสิงโต (Simhasana) กรขวาข้างหนึ่งมักจะถือดอกบัวที่มีก้านยาว และอีกกรถือผลทับทิม กรซ้ายมักจะถือหม้อน้ำอมฤต และสังข์ ช้าง ๒ เชือกที่อยู่เบื้องหลังจะถือหม้อสรงน้ำลงบนศีรษะนาง นางจะประดับตกแต่งด้วยสร้อยแขนและกำไล

Sri Devi : Ivory : Trivandram

ใน  วิศวกรรมศาสตรา อธิบายถึงลักษณะของนาง   โดยปรากฏที่วิหาร ใน Kolhapura  ว่านางปรากฏในรูปของเด็กสาวสวมเครื่องประดับตกแต่งมากมายและมีรูปโฉมที่สวยงาม กรขวาล่างถือหม้อน้ำ กรขวาบนถือคทา ชื่อ เคาโมฑากี กรซ้ายล่างถือผลทับทิม และกรซ้ายบนถือโล่ห์ บนศีรษะนางมีลิงคะปรากฏอยู่ นางได้รับการบูชาในความปรารถนาเกี่ยวกับความร่ำรวย

ที่มา:T.A.Gopinatha Rao,M.A. Elements of Hindu Iconography. Vol.I Part II  (India : Motilal Banarsidass Indological Publishers), 1968 , pl.CXI.

Kollapura  Maha Lakshmi Stone at  Kolhapur