วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คู่บารมีของวิษณุในอวตารต่าง ๆ

พระรามและนางสีดา ในพิธีสยุมพร

คู่บารมีของวิษณุในอวตารต่าง ๆ แสดงถึงความจงรักภักดี พระนางเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ เป็นชายาที่ดีพร้อม ทุก ๆ ครั้งที่พระวิษณุอวตารลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อปกปักรักษาโลกมนุษย์ พระนางจะจุติมาเกิดพร้อมด้วย พระนางจุติเป็นนางสีดา

ในคราวที่พระวิษณุอวตารมาเป็นพระราม , พระนางจุติมาเป็นรุคมินี เมื่อพระวิษณุอวตารมาเป็นพระกฤษณะ และจุติเป็นปัทมะ เมื่อพระวิษณุอวตารมาเป็นวามะนะ บางทีนางสีดาน่าจะเป็นตัวอย่างของวีรสตรีผู้ที่อุทิศตนแด่พระสวามีมากที่สุด ในวิษณุปุราณะ ได้กล่าวว่า

เมื่อ “หริ” กำเนิดมาเป็นพราหมณ์เตี้ย บุตรชายของอทิติ พระลักษมีจึงกำเนิดจากดอกบัว เมื่อพระองค์อวตารเป็นราฆวะ พระนางกำเนิดเป็นสีตา เมื่อพระองค์อวตารเป็นกฤษณะ พระนางกำเนิดเป็นรุคมินี เมื่อพระวิษณุจุติลงมา พระนางจะกำเนิดร่วมด้วยเสมอ

อ้างอิงที่มา: David R. Kinsley. Hindu Goddesses : visions of the divini feminine in the Hindu religious tradition. (London : University of California Press), 1988, p.273-28.[1] www.Indian_heritage.org/gods/lakshmi.html เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙
[1] David R. Kinsley. Hindu Goddesses : visions of the divini feminine in the Hindu religious tradition. (London : University of California Press), 1988, p.28.