วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

คชลักษมี ๔ กร ประเพณี ความเชื่อ เทพเจ้า จากฮินดูถึงไทย



จะว่าไปประเพณีไทยของเราก็ได้รับเอาความเชื่อในส่วนของรูปเคารพจากศาสนาฮินดูมามากเพราะศาสนาฮินดูมีเทพเจ้าเยอะแยะมากมาย ทั้งเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่เราคุ้นหูและไม่คุ้นหู อาจะต่างคนต่างเรียกแต่รูปเคารพเดียวกัน(มีหลายชื่อ)

ต่อจากตอนที่แล้ว ประเพณี ความเชื่อ เทพเจ้า จากฮินดูถึงไทย พระวิษณุ พระลักษมี พระพรหม ครุฑ และนารท 
พระลักษมี เมื่อประทับเคียงข้างพระวิษณุ พระลักษมีจะมีเพียงสองกร ถือดอกบัว แต่ถ้าประทับเดี่ยว จะมี ๔ กร ๒ กรขวาถือดอกบัวและผลไม้ ๒ กรซ้ายจะถือหม้อบรจุเพชรพลอยและถือสังข์

“พระศรี” มี ๒ กร ถือ Srifala (มะตูม ? ) และ ดอกบัว พระนางจะปรากฏพร้อมด้วยบุรุษสองคน และช้าง สองหรือสี่เชือกถือหม้อก้นกลม ? Ghatas [pot drum]

“พระลักษมี” มี ๒ กร ถือสังข์ และดอกบัว ขนาบข้างด้วยวิทยาธร
หากมี ๔ กร ถือ จักร สังข์ ดอกบัว และคทา หรือถือ มะนาว (Mahalunga) ดอกบัว หม้อน้ำ หรือ ดอกบัว ผลทับทิม (Bilva) สังข์ และหม้อน้ำ

๘ กร ถือ ธนู คทา ลูกศร ดอกบัว จักร สังข์ ไม้ตีพริก(มูสละ) และขอสับช้าง
ผิวกายของพระลักษมีมีลักษณะพิเศษคือ มีสีชมพู สีทองและสีขาว หากกายสีชมพูจะหมายถึงนางปรากฏในรูปของพระแม่ เมื่อกายสีทองจะหมายถึงศักติแห่งจักรวาล (The Universal Shakti) และหากกายเป็นสีขาว จะหมายถึงนางเป็นแม่แห่งแผ่นดิน

พระลักษมี จะปรากฏในรูปกายต่าง ๆ มี ๘ ลักษณะ โดยแต่ละรูปแบบจะมอบความร่ำรวยให้แด่ผู้ที่นับถือและศรัทธา  อัษฏ-ลักษมี (Astalakshmi) มีดังนี้

๑.  Adhi Lakshmi [The main goddess] หัวหน้าเทพี

๒. Dhanya Lakshmi [Granary wealth] เทพีแห่งข้าว

๓. Dhairya Lakshmi หรือ Veera Lakshmi [Wealth of courage] เทพีแห่งความกล้าหาญ

๔. Gaja Lakshmi [Elephants, symbols of wealth] เทพีแห่งความร่ำรวย

๕. Santhana Lakshmi [Wealth of progeny] เทพีแห่งการสืบพันธุ์

๖. Vijaya Lakshmi [Wealth of victory] เทพีแห่งชัยชนะ

๗. Dhana Lakshmi [Wealth of knowledge] เทพีแห่งความรอบรู้

๘. Vidhya Lakshmi หรือ Aishwarya Lakshmi [Monetary wealth] เทพีแห่งเงินทอง

ใน  Vaisnava Iconography in the Tamil Country  ได้กล่าวถึงชื่อของอัษฏลักษมี ที่แตกต่างไปคือ มี Saurya Lakshmi , Kirti Lakshmi และ Rajya Lakshmi แทนที่ Adhi Lakshmi , Gaja Lakshmi และ  Santhana Lakshmi

อย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับอัษฏลักษมีนี้ ได้ปรากฏขึ้นในพัฒนาการในช่วงหลัง และเป็นตัวแทนแสดงรูปของวิวัฒนาการในลัทธิบูชาพระลักษมี พระนางจึงเป็นส่วนหนึ่งของพระวิษณุในฐานะชายา ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนิกายไวษณพนี้